ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อรูปภาพ ที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล

ผู้แต่ง

  • จิระนันท์ อนันต์ไทย วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุชาดา กรเพชรปาณี วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปรัชญา แก้วแก่น วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สิริกรานต์ จันทเปรมจิตต์ วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

อารมณ์ด้านการมีอิทธิพล, รูปภาพ, คลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมทดลองมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้น และศึกษาอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองขณะทำกิจกรรมการมองรูปภาพ จำแนกตามเพศและบุคลิกภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 80 คน ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมทดลองมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล เครื่องบันทึกไฟฟ้าสมองระบบ Neuroscan และมาตรวัดอารมณ์ความรู้สึกด้านการมีอิทธิพล (SAM) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง จากผลการวัดด้านพฤติกรรมแสดงให้เห็นว่า การมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในลักษณะกลัว มีค่าคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันระหว่างบุคลิกภาพเปิดเผยและกลาง ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับผลการวัดด้านคลื่นไฟฟ้าสมองพบว่า ขณะมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในลักษณะไม่กลัว คลื่นไฟฟ้าสมอง P100 มีความแตกต่างกันระหว่างบุคลิกภาพเปิดเผยและกลาง ๆ ที่ตำแหน่ง FC4 ในขณะที่คลื่นไฟฟ้าสมอง N170 พบความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิงที่ตำแหน่ง PO7 ส่วนการมองรูปภาพที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในลักษณะกลัวพบความแตกต่างของคลื่นไฟฟ้าสมอง P100 ที่ตำแหน่ง O1 ในขณะที่คลื่นไฟฟ้าสมอง N170 พบความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิงที่ตำแหน่ง FCz

References

จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

ธวัชชัย ศรีพรงาม, เสรี ชัดแข้ม, สมพร สุทัศนีย์. การพัฒนาระบบคลังรูปภาพที่สื่อความหมายทางด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทของคนไทย. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา 2558;13(2):57-70.

ประไพพรรณ ศรีปาน. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบกับประสิทธิผลในการทำงานของพนักงาน ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ส่วนงานควบคุมและบริหารสินเชื่อรายย่อย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ; 2555.

Aluja A, Blanch A, Blanco E, Balada F. Affective modulation of the startle reflex and the reinforcement sensitivity theory of personality: The role of sensitivity to reward. Physiol Behav 2015;138:332-9.

Aluja A, Rossier J, Blanch Á, Blanco E, Martí-Guiu M, Balada F. Personality effects and sex differences on the the International Affective Picture System (IAPS): a Spanish and Swiss study. Pers Individ Dif 2015;77:143-8.

Aydin SG, Kaya T, Guler H. Wavelet-based study of valence-arousal model of emotions on EEG signals with LabVIEW. Brain Inform 2016;3(2):109-17.

Bradley MM, Cuthbert BN, Lang PJ. Affect and the startle reflex. New York: Cambridge University Press; 1999.

Bakker AB, Demerouti E, Sanz-Vergel, AI. (2014). Burnout and work engagement: The JD–R approach. Annu Rev Organ Psychol Organ Behav 2014;1(1):389-411.

Beauducel A, Brocke B, Leue A. (2006). Energetical bases of extraversion: effort, arousal, EEG, and performance. Int J Psychophysiol 2006;62(2):212-23.

Cai K, Li Y, Qin Q, Yin H. Gradientless temperaturedriven rotating motor from a double-walled carbon nanotube. Nanotechnology 2014; 27(5):1-5.

Eysenck HJ. The classification of depressive illnesses. Br J Psychiatry 1970;117(538):241-50.

Campisi P, La RD. Brain waves for automatic biometric-based user recognition. IEEE Trans Inf Forensics Secur 2014;9(5):782-800.

Briggs KE, Martin FH. Affective picture processing and motivational relevance: arousal and valence effects on ERPs in an oddball task. Int J Psychophysiol 2009;72(3):299-306

Dennis TA, Hajcak G. The late positive potential: a neurophysiological marker for emotion regulation in children. J Child Psychol Psychiatry 2009;50(11):1373-83.

Lee W, Lucey J. (2010). Formation and physical properties of yogurt. Asian-Australas J Anim Sci 2010;23(9):1127-36.

Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang AG. Statistical power analyses using G* Power 3.1: tests for correlation and regression analyses. Behav Res Methods 2009;41(4):1149-60.

Bradley MM, Lang PJ. Measuring emotion: the self-assessment manikin and the semantic differential. J Behav Ther Exp Psychiatry 1994; 25:49-59.

Domes G, Lischke A, Berger C, Grossmann A, Hauenstein K, Heinrichs M, et al. Effects of intranasal oxytocin on emotional face processing in women. Psychoneuroendocrinology 2010; 35(1):83-93.

Cai A, Lou Y, Long Q, Yuan J. The sex differences in regulating unpleasant emotion by expressive suppression: extraversion matters. Front Psychol 2016;7: Article 1011.

Whittle S, Yücel M, Yap MB, Allen NB. Sex differences in the neural correlates of emotion: evidence from neuroimaging. Biol Psychol 2011;87(3):319-33.

Filkowski MM, Olsen RM, Duda B, Wanger TJ, Sabatinelli D. Sex differences in emotional perception: meta analysis of divergent activation. Neuroimage 2017;15(147):925-33.

Rozenkrants B, Polich J. Affective ERP processing in a visual oddball task: Arousal, valence and gender. Clin Neurophysiol 2008;119(10):2260-65.

Sabatinelli D, Flaisch T, Bradley MM, Fitzsimmons JR, Lang PJ. Affective picture perception: gender differences in visual cortex?. Neuroreport 2004;15(7):1109-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28