การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสนับสนุนรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, การพัฒนาเว็บไซต์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้ส่งเสริมและสนับสนุนรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับ ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน และประเมินคุณภาพของนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้ส่งเสริมสนับสนุนรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับ ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพการณ์ของผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน ซึ่งภาพ รวมมีความต้องการองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก ( =3.83, S.D.=1.24) ทั้งความสามารถในการสืบค้นและติดต่อกับ ผู้ประกอบการ การสืบค้นและนำเสนอสินค้าและบริการ การสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ และการแสดงสินค้าที่ได้รับ ความนิยม 2) การพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลแบ่งออกเป็น 8 ฟังก์ชัน ประกอบด้วยฟังก์ชันเผยแพร่สินค้าฟังก์ชันเผยแพร่ ร้านค้าและธุรกิจ ฟังก์ชันเผยแพร่สินค้ายอดนิยม ฟังก์ชันเผยแพร่ข่าว/จดหมายของชุมชน ฟังก์ชันซื้อขายสินค้า ฟังก์ชันปฏิทนิ ประชาสัมพันธ์ ฟังก์ชันห้องเรียนออนไลน์ และฟังก์ชัน ประวัติคำถามและคำตอบที่น่าสนใจ 3) การประเมินนวัตกรรม ดิจิทัล ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วย กลุ่มประชากรผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 141 ราย และกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอโชคชัย อำเภอห้วยแถลง อำเภอปักธงชัย จำนวน 60 ราย โดยใช้วิธีการสุ่ม โดยใช้แบบสำรวจสภาพการณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ร่วมกับการพัฒนาเว็บไซต์ตามรูปแบบวงจรพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDLC) และความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการทดลอง ใช้งานและประเมินคุณภาพในการทำงานของนวัตกรรมดิจิทัลพบว่า ภาพรวมของระบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.18, S.D.=0.72) ทั้งในด้านความทันสมัยของเว็บไซต์เนื้อหาครอบคลุม และถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ ความยืดหยุ่น ในการใช้งานและการติดต่อประสานงาน ความสวยงาม และความสะดวกในการใช้งาน ความเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. วารสารแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 30 ม.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.mdes.go.th/ assets/portals/1/files/590613_4Digital_Economy_Plan-Book.pdf
สรัญญา มณีโรจน์. ระบบแนะนำสินค้าอัตโนมัติบนธุรกิจออนไลน์. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2550; 6(1-2):83-9.
สิรินทรา ตันติวุฒิไกร. แนวทางส่งเสริมการจัดจำหน่ายเครื่องยนต์มือสองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในเขตพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนคร 2560;8(2):134-43.
กมลทิพย์ กล้าดี. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว: กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก; 2554.
ยืน ภู่วรวรรณ, สมชาย นำประเสริฐชัย. ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2546.
Ralph MS, George WR. Fundamentals of information systems. 8th ed. Australia: Cengage Learning; 2016.
เพ็ญศรี ศรีสวัสดิ์, กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์, กานดา พูนลาภทวี. การพัฒนาระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนโทรศัพท์เคลื่อนที่. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2558; 6(1):78-87.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์, อัจฉรา จันทร์ฉาย, ประกอบ คุปรัตน์. นวัตกรรม: ความหมายประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2553; 33(128):49-65.
สมศักดิ์ จีวัฒนา , ชลิดา ภัทรศรีจิรากุล . การพัฒนาระบบฐานข้อมูลผ้าไหมทอมือของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ 2558;10(1):59.
Danny PW, Connie VF. Web Page Evaluation Worksheet. Library Evaluation: A casebook and Can-Do guide [Internet]. 2001 [cited 2017 May 25]. Available from: https://epdf.tips/libraryevaluation-a-casebook-and-can-do-guide.html
ปรัชญนันท์ นิลสุข. การประเ มินคุณภาพเว็บข้อมูลสารสนเทศ. วารสารรังสิตสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต 2546; 9(1):17.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ