การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับติดตามอาการผู้ป่วยใน โครงการการเรียนรู้ร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • สุธีรา พึ่งสวัสดิ์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • สุภาภรณ์ คงพรหม กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ธีรวุฒิ พงศ์เศรษฐไพศาล กลุ่มวิชาเภสัชวิทยาและการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • นิตย์ธิดา ภัทรธีรกุล กลุ่มวิชาเภสัชวิทยาและการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ใจบุญ แย้มยิ้ม คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ศราวุธ สุทธิรัตน์ กลุ่มวิชาภูมิคุ้มกันวิทยา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ภาวดี ช่วยเจริญ กลุ่มวิชาเคมีคลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • เชาว์นวิทย์ สุทธิวานิช คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ศิริพร เกื้อกูลนุรักษ์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

การติดตามอาการผู้ป่วย, ระบบสารสนเทศ, การเรียนรู้ระหว่างสหสาขาวิชาชีพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับติดตามอาการผู้ป่วยในโครงการการเรียนรู้ร่วมกันแบบสหสาขา วิชาชีพของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ในการติดตามอาการของ ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งข้อมูลการติดตามประกอบไปด้วย การประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม การติดตาม ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน การติดตามข้อมูลผลการตรวจเลือดของผู้ป่วย และการติดตามอาการผู้ป่วยติดเตียง โดยพัฒนาเป็นระบบสารสนเทศบนเว็บในรูปแบบที่สามารถใช้งานได้ในทุกอุปกรณ์และระบบปฏิบัติการ เพื่ออำนวย ความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน ระบบจะแสดงข้อคำถามให้แก่ผู้ใช้งาน โดยผู้ใช้งานทำการกรอกข้อมูลในการติดตามผ่านระบบ ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายจะมีการติดตามอาการที่ต่างกันขึ้นอยู่กับโรคและอาการของผู้ป่วย โดยทีมเยี่ยมบ้านที่ทำหน้าที่ในการดูแล ผู้ป่วยจะติดตามอาการผ่านระบบ เพื่อใช้ในการติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในการรักษา เมื่อ ทำการประเมินระบบโดยใช้แบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพของระบบของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน พบว่ามีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.06 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.87 นอกจากนี้ยังสามารถนำระบบมาใช้เป็นสื่อเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วม กันระหว่างสหสาขาวิชาชีพ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือ ประสานงาน และการทำงานร่วมกันในการดูแลสุขภาพของประชาชน ในองค์รวมต่อไป

References

สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.

Montauk SL. Home health care. Am Fam Physician [Internet]. 1998 [cited 2018 July 3]. Available from: http://www.aafp.org/afp/981101ap/montauk.htm

อิสยา จันทร์วิทยานุชิต. การเรียนร้รู ่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ: การเยี่ยมบ้านผู้ป่วย บริการด้วยหัวใจ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ (ศสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2561.

วณิชา ชื่นกองแก้ว. การศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: พี เอ ลิฟวิ่ง; 2559.

World Health Organization. Framework for action on interprofessional education and collaborative practice. [Internet]. 2010 [cited 2018 July 3]. Available from: http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/70185/1/WHO_HRH_HPN_10.3_eng.pdf

Gamble N, Easingwood N. ICT and literacy: information and communications technology, media, reading and writing. New York: The Tower Building; 2000.

มัณฑนา คงกลาง. ระบบนัดหมายและติดตามอาการผู้ป่วยหลังจากกลับจากโรงพยาบาล กรณีศึกษาหอผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลศิริราช. กรุงเทพฯ: สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554.

ราวรรณ ยอดเถื่อน. การพัฒนาระบบติดตามการขาดนัดผู้ป่วยแผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลบางกระทุ่ม. [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 16 ก.พ. 2561].เข้าถึงได้จาก: http://www.bkthosp.go.th/web/index.php/research/r2r/

คณะทำงานโครงการพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. การพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู และถอดบทเรียนการดำเนินงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย; 2559.

Web Blog. Responsive web design คืออะไร. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 3 ก.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://seo-web.aun-thai.co.th/blog/web-blog-responsive-web-design/

Rovinelli RJ, Hambleton RK. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch J Educ Res 1977;2:49-60.

Cronbach LJ. Course improvement through evaluation. New York: Teacher College Record of Columbia University; 1963.

Free C, Phillips G, Galli L, Watson L, Felix L, Edwards P, et al. The effectiveness of mobilehealth technology-based health behaviour change or disease management interventions for health care consumers: a systematic review. PLoS Med 2013;10(1):e1001362.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28