บทบาทพยาบาลกับการส่งเสริมครอบครัวในการชะลอภาวะสมองเสื่อม ระยะเริ่มต้นในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ชัชวาล วงค์สารี กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การใช้เทคนิคโค๊ชชิ่ง, การส่งเสริมครอบครัว, การชะลอภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น, การพยาบาลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ประเทศไทยพบอุบัติการณ์ของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้น จะนำมาสู่ผลกระทบด้านลบ อาทิ ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลในการดูแลรักษา การขาดแคลนอัตรากำลังบุคลากรในการดูแล การขาดความชำนาญในการดูแล สถานที่ในการดูแลไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ซึ่งคาดว่าประเทศไทยเตรียมรับมือกับปัญหา ที่จะเกิดจากภาวะสมองเสื่อมยังไม่ครอบคลุมทุกประเด็น ในปัจจุบันวิธีที่ดีที่สุดคือ การมุ่งเน้นการชะลอภาวะสมองเสื่อม เนื้อหาบทความนี้ประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นโดยเน้นแนวคิดหลักการดูแลรักษา แนวคิดการดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น โดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง และบทบาทพยาบาลกับการส่งเสริมครอบครัวใน การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น โดยมีเนื้อหาสำคัญ อาทิ การประเมินความพร้อมของครอบครัวและผู้สูงอายุ การวางแผนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นร่วมกับครอบครัวโดยการใช้เทคนิคโค๊ชชิ่ง ซึ่งประกอบด้วยหลัก 4 ประการ ได้แก่ เทรนนิ่ง ไกด์ดิ้ง การให้คำปรึกษา และการจัดโครงการพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมในชุมชนโดยใช้ ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง พร้อมให้การส่งเสริมครอบครัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและการประเมินผลการส่งเสริม ครอบครัวที่เป็นผลลัพธ์การพยาบาล

References

ชัชวาล วงค์สารี. สถานการณ์ของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทย: ประเด็นและแนวโน้มการดูแลทางการพยาบาล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย 2561;12(1):47-58.

กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. การส่งเสริมครอบครัวในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2561;27(เพิ่มเติม1):189-98.

Ferri CP, Prince M, Brayne C, Brodaty H, Fratiglioni L, Ganguli M, et al. Global prevalence of dementia: a delphi consensus study. Lancet 2005;366(9503):2112-7.

Alzheimer’s Society. Fix dementia care: hospitals. [Internet]. 2016 [cite 2017 April 7]. Available form: http://www.alzheimers.org.uk/fixdementiacare

Kalaria RN, Maestre GE, Arizaga R, Friedland RP, Galasko D, Hall K, et al. Alzheimer’s disease and vascular dementia in developing countries: prevalence, management and risk factors. Lancet Neurol 2008;7(9):812-26.

Nakanishi M, Nakashima T. Features of the Japanese national dementia strategy in comparison with international dementia policies: how should a national dementia policy interact with the public health-and social-care systems?. Alzheimer’s Dement 2014;10(4):468-76.

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและการพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2553.

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและการพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2559.

ชัชวาล วงค์สารี. ผลกระทบหลังการเกิดภาวะสมองเสื่อมกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2560;23(3):680-89.

รัชนี นามจันทรา. การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสาร มฉก. วิชาการ 2553;14(27): 137-50.

Muangpaisan W. Gerontology and geriatrics for primary care practice. Bangkok: Design & Printing; 2017.

Panakhon L, Nanthamongkolchai S, Pitikultang S, Taechaboonsermsak P. Factors influencing dementia in elderly women in Lumphun province. J Public Health 2015;45(2):197-209.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2551.

Hogan DB, Bailey P, Black S. Diagnosis and treatment of dementia: 4. Approach to management of mild to moderate dementia. CMAJ 2008;179:787-93.

Manthorpe J, Samsi K. Person-centered dementia care: current perspectives. Clin Interv Aging 2016;11:1733.

วีณา จีระแพทย์. กลยุทธ์ครอบครัวเป็นศูนย์กลางเพื่อคุณภาพการดูแลปริกำเนิดอย่างยั่งยืน. ใน: เพิ่มศักดิ์ สุเมฆศรี, นาเรศ วงศ์ไพฑูรย์, พจนีย์ ผดุงเกียรติวัฒนา, ณัฐฐิณี ศรีสันติโรจน์. (บ.ก.). การดูแลปริกำเนิดอย่างมีคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยนครีเอชั่น; 2557.

Boots LM, De Vugt ME, Van Knippenberg RJ, Kempen GI, Verhey FR. A systematic review of internet-based supportive interventions for caregivers of patients with dementia. Int J Geriatr Psychiatry 2014;29(4):331-44.

Chenoweth L, Stein-Parbury J, White D, McNeill G, Jeon YH, Zaratan B. Coaching in self-efficacy improves care responses, health and wellbeing in dementia carers: a pre/post-test/follow-up study. BMC Health Serv Res 2016;16(1):166.

ชัชวาล วงค์สารี, ศุภลักษณ์ พื้นทอง. ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ: การพยาบาลและการดูแลญาติผู้ดูแล. วารสาร มฉก.วิชาการ 2561;22(43):135-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28