The The development of IoT smart trash system model for online solid waste management at the primary school

การพัฒนาต้นแบบระบบถังขยะไอโอทีและระบบจัดเก็บข้อมูลการทิ้งขยะแบบออนไลน์ของนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ชุติธารรัฐ อุตมะสิริเสนี สำนักการศึกษาทั่วไป สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ณิชดนีย์ ธัญพรหิรัณย์

คำสำคัญ:

คลาวด์เซิร์ฟเวอร์, แดชบอร์ด, ไอโอที

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาต้นแบบระบบถังขยะไอโอทีและจัดเก็บสถิติข้อมูลการทิ้งขยะแบบออนไลน์ของนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา เป็นระบบที่ใช้ในการจัดเก็บสถิติข้อมูลการทิ้งขยะของนักเรียนโดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1) การออกแบบตัวถัง  2) จัดทำระบบตัวถัง  3) จัดทำระบบจัดเก็บข้อมูล    โดยได้ออกแบบถังขยะสำหรับทิ้งขยะ 4 ประเภท ได้แก่ ขยะรีไซเคิล,ขยะอินทรีย์, ขยะอันตราย และขยะทั่วไป   จากนั้นทำการติดตั้งระบบ Sensor เพื่อเล่นเสียงแนะนำการทิ้งขยะและระบบเก็บข้อมูลปริมาณและช่วงเวลาในการทิ้งขยะ การจัดเก็บข้อมูลจะแยกเป็นประเภทของขยะ ทั้ง 4 ประเภทตามชนิดของถัง ซึ่งระบบที่จัดเก็บข้อมูลจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นสถิติการทิ้งขยะแยกตามประเภทของถังขยะ และช่วงเวลาในการทิ้งในแต่ละวัน แสดงผลแบบ Dashboard ผ่าน Cloud Server สามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real Time ทุกที่ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์ ข้อมูลดิบที่ได้มาจะถูกจัดนำมาวิเคราะห์โดยแยกตามประเภทของขยะ และความถี่ในการทิ้งขยะมาคิดเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นทางสถิติ ได้อย่างครบถ้วน การทดสอบระบบเซนเซอร์ที่ใช้เก็บข้อมูลปริมาณและช่วงเวลาในการทิ้งขยะ ทำการทดสอบ พบว่าสามารถ แสดงผลจัดเก็บบน Cloud Server ได้ถูกต้องร้อยละ 100

References

. กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือแนวทางการลดและข้อกำหนดเบื้องต้นการลดและใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย.
กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม; 2560.
2. กรุงเทพเศรษฐกิจ.ประเทศไทย 2563: สถานการณ์ขยะในไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 มี.ค.64]. เข้าถึงจาก:
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/863554
3. จิตรภานุ วุฒิกรวิภาค,นายธัญพล โต๊ะซา. ถังขยะอัจฉริยะ. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต, มหาวิทยาลัย พระจอม
เกล้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ; 2560.
4. ดาวรถา วีระพันธ์ และณัฐรดี อนุพงค์. การพัฒนาสื่อการเรียนรู้การ์ตูนมัลติมีเดีย 2 มิติ เรื่อง อยู่อย่างพอเพียงผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2560;7(3): 61-72.
5. ทิพานัน พงษ์สุวรรณ, อนุพงษ์ ติตะ และ ภานุวัตร อุทัยบาล. ระบบติดตามถังขยะอัจฉริยะ| Smart Trash Tracking
System. PULINET Journal; 2019: 6(2).
6. ปัญจพล ไทยปิยะ. รายงานการวิจัยการพัฒนาต้นแบบถังขยะอัจฉริยะ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ภายใต้แผนงานวิจัย การพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะ.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์; 2560.
7. เพิ่มสุขภาวะ และเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หลักสูตรเทคโนโลยี
ไฟฟ้า.“ปญหาการกําจัดขยะตองจัดการเชิงบูรณาการ”. [อินเตอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 มี.ค. 2564]. เข้าถึงจาก:
https://www.gotoknow.org/posts/604969.
8. วิวัฒน มีสุวรรณ. อินเทอรเน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (Internet of Things) กับการศึกษา Internet of Things on Education.
วารสารวิชาการนวัตกรรมส่ือสารสังคม 2559; 4(2): 83-92.
9. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วงษ์พาณิชย์. (2560). ราคากลาง รับ ซื้อ ขยะรีไซเคิล. [อินเตอร์เน็ต].
2560 : [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ. 2563]. เข้าถึงจาก: http://www.wongpanit.com/wpn2017 (20 พฤษภาคม 2560).
10. อานนท เนตรยอง,นางสาวธิติมา นริศเนตร (2562). ถังขยะอัจฉริยะ. การประชุมวิชาการสำหรับนักศึกษาระดับชาติ ครั้งที่
2,มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ ; 2562. หน้า 128-133.
11. Thota, S. R., Neelima, S., Lalitha Pruthvi, K. V. N., Mouika, K., Pravallika, M., & Sowmya, N. Smart trash
can monitoring system using IoT–Creating solutions for smart cities. Waste Management;2018. p. 2625-
2643.
12. Gutierrez, J. M., Jensen, M., Henius, M., & Riaz, T. Smart waste collection system based on location
intelligence. Procedia Computer Science; 2015. p. 120-127.
13. Jia, G., Zhu, Y., Han, G., Chan, S., & Shu, L. STC: an intelligent trash can system based on both NB-IoT
and edge computing for smart cities. Enterprise Information Systems;2019. P. 1-17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27