ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี
Effectiveness of health belief program to preventive behavior with COVID-19 of public health volunteers in Pathumthani province
คำสำคัญ:
โปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19, อาสาสมัครสาธารณสุขบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 54 คน โดยเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างละ 27 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) โปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพ 3) แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้แก่ โปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพ แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน มีค่าเท่ากับ 1.00, 0.90 และ 1.00 ตามลำดับ และตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.89 และ 0.82 ตามลำดับ ใช้สถิติเชิงพรรณาในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยสถิติเชิงอนุมานด้วยการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) อาสาสมัครสาธารณสุขที่ได้รับโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพมีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 และ 2) อาสาสมัครสาธารณสุขที่ได้รับโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพมีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 บทสรุป พบว่า โปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพมีประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ได้ ดังนั้นบุคลากรผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อส่งเสริมสุขภาพประชาชนต่อไป
References
Eurosurveillance Editorial Team. Note from the editors: World Health Organization declares novel coronavirus (2019-nCoV) sixth public health emergency of international concern. Euro Surveill 2020;25(5):200131e.
ศูนย์ปฏิบัติการข่าวกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 มิย. 2563]. เข้าถึงได้จาก:https:// ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no155-060663.pdf
Ballestero MFM, de Oliveira RS. The covid-19 outbreak and pediatric neurosurgery guidelines. Arch Pediatr Neurosurg 2020;2(1):53-4.
Fisher D, Heymann D. Q&A: the novel coronavirus outbreak causing COVID-19. BMC Med 2020;18(1):1-3.
บัญชา เกิดมณี, สุรชัย ธรรมทวีธิกุล, ญานพินิจ วชิรสุรงค์, บดินทร์ชาติ สุขบท, สมบัติ ทีฆทรัพย์. แนวคิดและทิศทางการแก้ปัญหาโควิด-19. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 2563;20(1):1-12.
สมบูรณ์ ขอสกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัยแบบผ้าในการป้องกันโควิด-19 ของประชาชน ในจังหวัดปทุมธานี.วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2564;35(2):22-38.
Ganyani T, Kremer C, Chen D, Torneri A, Faes C, Wallinga J, et al. Estimating the generation interval for COVID-19 based on symptom onset data. Euro Surveill. 2020;25(17):2000257.
สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร, สุมนมาลย์ อุทยมกุล. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสาร
สถาบันบำราศนราดูร 2563;14(2):124-33.
Becker MH. The health belief model and preventive health behavior. Health Educ Monogr 1974;2(4):354-85.
บ้านเมือง. ปทุมธานีพบติดเชื้อโควิด-19. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 19 มี.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://www.banmuang.co.th/news/region/184513
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม. ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.
กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวพร ดำแสงสวัสด์ิ. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563;14(2):92-103.
กรุงเทพธุรกิจ. องค์การอนามัยโลก WHO ชื่นชมไทย หลังลดจำนวนผู้ติดเชื้อ มีระบบที่ดี ปราบโคโรนาไวรัส. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 3 ก.พ. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/news/
detail/876118
Burns N, Grove SK. The practice of nursing research: conduct, critique and utilization. 5th ed. Philadelphia: W.B. Saunders; 2005.
นฤมล วงศ์วัยรักษ์, รชานนท์ ง่วนใจรัก. ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกาของอาสาสมัครสาธารณสุขศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560. วารสาร สคร.9 2562;25(3):24-33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ