การเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมจากเมล็ดแตงโม

Comparison of antioxidant activity and amount of total phenolic compound from watermelon seeds

ผู้แต่ง

  • นฤวัตร ภักดี
  • รณชัย ภูวันนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • จตุพร ประทุมเทศ

คำสำคัญ:

เมล็ดแตงโม, สารต้านอนุมูลอิสระ, สารประกอบฟินอลิก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบฤทธิต้านอนุมูลอิสระ และหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมของเมล็ดแตงโม และการพัฒนาชาชงจากเมล็ดแตงโม ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงทดลอง โดยนำเมล็ดแตงจากทั้งหมด 15 แหล่ง สกัดด้วยวิธีการหมักในเอทานอลร้อยละ 95 และต้มด้วยน้ำ วิเคราะห์คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging capacity และหาปริมาณฟีนอลิกรวมทั้งหมดด้วยวิธี Folin-Ciocalteu ผลการศึกษาพบว่า ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากเมล็ดแตงโมงที่สกัดด้วยเอทานอลและน้ำมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยเมล็ดที่ได้มาจากจังหวัดอุดรธานีมีประสิทธิภาพในการยับยั้งอนุมูลอิสระสูงที่สุด (IC50 : 5.757 mg/ml) ส่วน สารสกัดหยาบจากเมล็ดแตงโมที่สกัดด้วยน้ำของอำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งอนุมูลอิสระสูงที่สุด (IC50 : 10.867 mg/ml)และประสิทธิภาพในการยับยั้งอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบเมล็ดแตงโมจากจังหวัดอุดรธานีที่สกัดด้วย 95% เอทานอลมีความสัมพันธ์กับปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมทั้งหมด ซึ่งมีค่า 37.374±0.336 mgGAE/g extract ส่วนประสิทธิภาพในการยับยั้งอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบเมล็ดแตงโมจากอำเภอพรรณานิคมที่สกัดด้วยน้ำมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมทั้งหมดสูงที่สุด ซึ่งมีค่า 18.298±0.079 mgGAE/g extract สรุปได้ว่า สารสกัดจากเมล็ดแตงโม แต่ละแหล่งมีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณฟีนอลิกรวมแตกต่างกัน

References

Duangjit S, Suwannarat K, Kittiphinitnunta K, Ongwisut P, Bumrungthai S, Ngawhirunpat S, et al. Role of natural antioxidants for topical applications: properties, efficacy, safety and novel delivery systems. Isan J Pharm Sci 2019;15(1):21-48.

Jankana S. Testing antioxidant activity and analysis of phenolic compounds in the Thai nature vegetables. Naresuan Phayao J 2013;6(3):188-93.

สิริพันธุ์ จุลกรังคะ. เครื่องดื่มในงานบริการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2555.

Srisopa A, Wongkrajang K. Development of antioxidant and anti-α-glucosidase mulberry leaf tea recipes with combination of aroma herbs. TJST 2020;9(2):218-29.

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย (Nutritive values of Thai foods). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก; 2535.

Tara Tarazona-Díaz MP, Alacid F, Carrasco M, Martínez I, Aguayo E. Watermelon juice : potential functional drink for sore muscle relief in athletes. J Agric Food Chem 2013;61(31):7522-8.

Bahri S, Zerrouk N, Aussel C, Moinard C, Crenn P, Curis E, et al. Citrulline : from metabolism to therapeutic use. Nutrition 2013;29(3):479-84.

Madhavi P, Vakati K, Rahman H. Evaluation of anti-inflammatory activity of Citrullus lanatus seed oil by in-vivo and in-vitro models. Int J Pharm Res 2012;2(4):104-8.

Sola AO, Temitayo OO, Olufunke A, Shittu F. Chemical composition, nutritional values and antibacterial activities of watermelon seed (Citrullus lanatus). Int J Biochem Res Rev 2019;27(1):1-9.

สุพัตรา ทองทา, เพชรรัตน์ ไสว, กล่าวขวัญ ศรีสุข. การศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์เพิ่มการผลิต

ไนตริกออกไซด์ของแตงโมบางสายพันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 2560;22(ฉบับพิเศษ1):14-22.

Rahman H, Manjula K, Anoosha T, Nagaveni K, Eswaraiah CM, Bardalai D. In-vitro anti-oxidant activity of Citrullus Lanatus seed extracts. Asian J Pharm Clin Res 2013;6(3):152-7.

Varghese S, Narmadh R, Gomathi D, Kalaiselvi M, Devaki K. Evaluation of hypoglycemic effect of ethanolic seed extracts of Citrullus lanatus. J phytopharm 2013;2(6):31-40.

Tlili I, Hdider C, Lenucci MS, Riadh I, Jebari H, et al. G. Bioactive compounds and antioxidant activities of different watermelon (Citrullus lanatus (Thunb.) Mansfeld) cultivars as affected by fruit sampling area. J Food Compost Anal 2011;24(3):307-14.

Ratanaopa S, Sirisomboon P. Change in lycopene and soluble solids content of watermelon (Kinnaree variety) at different maturity. In: proceedings of the 14th TSAE National Conference, March 12-14, 2021; Khon Kaen, Thailand; 2021. P. 157-8.

Loypimai P, Pasakul T, Mongkolthai R. Comparisons of antioxidant activities and total phenolic content of fruit peels. J Agric Sci 2011;42(2)(Suppl.):385-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28