ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดแมลงของเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

Knowledge, attitude and chemical insecticide use behavior of corn farmers in Sriratana district, Sisaket province

ผู้แต่ง

  • วันปิติ ธรรมศรี
  • สิริพร พรมอุทัย
  • วนิดา บุษยาตรัส
  • สุขุมาภรณ์ ศาลางาม

คำสำคัญ:

สารเคมีกำจัดแมลง, เกษตรกร, ข้าวโพด, ทัศนคติ, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดแมลงอย่างปลอดภัยในเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลต่อความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการใช้สารเคมีกำจัดแมลง กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรคือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด จำนวน 320 คน ในตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 92.00 ทัศนคติส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 97.00 และพฤติกรรมส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 98.00 จากการศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคลกับความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดแมลง โดยใช้ฟิชเชอร์เอ็กแซค (Fisher’s exact test) พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อปี และประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดมีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกร (p<0.01)

References

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ. ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 12 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.opsmoac.go.th/sisaket-home

วิทญา ตันอารีย์. รายงานการวิจัยการประเมินผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรในการปลูกพืชไร่เขตเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนาอำเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2554.

สุธาสินี อั้งสูงเนิน. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558;9(1):50-63.

กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลผู้ป่วยโรคจากพิษสารเคมีกําจัดศัตรูพืชจังหวัดศรีสะเกษ. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.moph.go.th/

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยาสารเคมีกำจัดแมลง. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp? info_id=396

สิริภัณฑ์กัญญา เรืองไชย และยรรยงค์ อินทร์ม่วง. ผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบในตำบลลำห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2554;18(1):48-60.

Taro Yamane. Statistics: an Introductory analysis. New York: Harper & Row; 1973.

ชัยวัฒน์ สัมมา. การมีส่วนร่วมในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตอำเภอเมืองตราดจังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. จันทบุรี; 2548.

กวิสทรารินทร์ คะณะพันธ์ และกาญจนา แซ่อึง. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันตัวเองจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวของเกษตรกรตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2563;3(3):187-98.

นัสพงษ์ กลิ่นจำปา และดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตำบลป่าไม้งามอำเภอเมืองจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา 2562; 25(2):26-34.

วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์, ศิริศักดิ์ มังกรทอง และประจวบลาภ เที่ยงแท้. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร: กรณีศึกษาอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารราชพฤกษ์ 2561;16(1):55-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28