การศึกษาลักษณะทางจุลกายวิภาคของหลอดเลือดแดง vertebral ส่วนที่ 3 และ 4 ในร่างอาจารย์ใหญ่ชาวไทย
คำสำคัญ:
หลอดเลือดแดง vertebral, ลักษณะทางจุลกายวิภาค , ร่างอาจารย์ใหญ่บทคัดย่อ
หลอดเลือด vertebral artery (VA) เป็นหลอดเลือดที่ทอดตัวจากส่วนคอไปยังศีรษะมีหน้าที่สำคัญในการนำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนท้าย โดย VA แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตลอดความยาวของหลอดเลือดนี้ vertebral ส่วนที่ 3 (V3) เป็นส่วนที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวของศีรษะมากที่สุดและส่วนที่ 4 (V4) เป็นส่วนที่มักพบการอุดตันของหลอดเลือด งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาลักษณะทางจุลกายวิภาคของหลอดเลือดแดง V3 และ V4 จากร่างอาจารย์ใหญ่ชาวไทยจำนวน 20 ร่าง โดยตัวอย่างหลอดเลือดจากทั้งข้างขวาและซ้ายถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนต้น ส่วนกลาง และส่วนปลาย จากนั้นเตรียมชิ้นเนื้อด้วยวิธีมาตรฐาน ย้อมด้วยสี Hematoxylin และ Eosin และ Verhoeff-Van Gieson ศึกษาลักษณะทางจุลพยาธิภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงชนิดบันทึกภาพดิจิตอลและวัดความหนาของผนังหลอดเลือดด้วยโปรแกรม ImageJ พบว่าความหนาผนังหลอดเลือดชั้นใน (tunica intima) ของ V3 และ V4 ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความหนาของผนังหลอดเลือดชั้นกลาง (tunica media) และผลรวมค่าความหนาผนังหลอดเลือดชั้นในและชั้นกลาง (intima-media thickness; IMT) ของ V3 และ V4 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยในส่วนที่ต่างกันของ V3 และ V4 นั้น พบพยาธิสภาพส่วนใหญ่อยู่ในส่วนปลายของ V3 และส่วนต้นของ V4 ซึ่งสอดคล้องกับค่าความหนา IMT ที่หนามากที่สุดในส่วนปลายของ V3 และส่วนต้นของ V4 ข้อมูลดังกล่าวแสดงถึงแนวโน้มการหนาตัวของผนังหลอดเลือดที่ส่วนปลายของ V3 และ ที่ส่วนต้นของ V4 บ่งบอกถึงความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองขาดเลือดจากหลอดเลือดตีบหรือตัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์โรคหลอดเลือดและเป็นข้อมูลในการระวังและป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับหลอดเลือดได้
References
Aggarwal P, Datta I, Ganguly S, Pal A, Bharati S, Verma M. Histological study of medium sized artery of neck in relation with their pulse pressure and pulsatory power. J Evol Med Dent Sci 2014;3(66):14270-7.
Kornieieva MA, Al-Hadidi AM. Morphology of vertebral artery in Asian Population. Asian J Med Sci 2014;5(4):84-8.
Desai AR, Chavan SK. Histo-Mophometric study of various segments of vertebral artery in human cadavers. Int J Anat Res 2019;7(1.1):6102-7.
Rawal JD, Doshi BD, Patel MD, Patel DV, Jadav HR. Histomorphometric comparison of first and fourth part of vertebral artery in Indian. Indian J Clin Anat Physiol 2017;4(4):517-20.
Bhadkaria V, Chawre HK, Joshi SS, Joshi SD. Histological variations in various segments of vertebral artery. J Evol Med Dent Sci 2016;5(2):120-6.
ศันสนีย์ วงศ์ไวศยวรรณ. ตำราพยาธิวิทยากายวิภาค. เล่ม1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา; 2555.
Ross MH, Pawlina W. Histology: A Text and Atlas, with Correlated cell and molecular biology. 6th ed. Baltimore: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins, 2011.
Sato T, Sasaki T, Suzuki K, Matsumoto M, Kodama N, Hiraiwa K. Histological study of the normal vertebral artery etiology of dissecting aneurysms. Neurol Med Chir (Tokyo) 2004;44:629-36.
ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์ และ คณะ. พยาธิสรีรวิทยาทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บุญศิริการพิมพ์; 2550.
Jadhav UM, Kadam NN. Carotid intima-media thickness as an independent predictor of coronary artery disease. Indian Heart J 2001;53(4):458-62.
Rawal JD, Jadav HR. Histomorphometric comparison of diameter of right and left vertebral arteries. Natl J Med Res 2012;2(03):260-3.
Rustagi SM, Bharihoke V. Intracranial human vertebral artery: a histomorphological study. Int J Cur Res Rev 2013;5(12):89-96.
Macchi C, Giannelli F, Cecchi F, Gulisano M, Pacini P, Corcos L, et al. The inner diameter of human intracranial vertebral artery by color Doppler method. Ital J Anat Embryol 1996;101(2):81-7.
Watcharasaksilp K. Cervical artery dissection. J Thai Stroke Soc 2016;15(1):19-31.
รุ่งรัตน์ นิลธเสน. ไนตริกออกไซด์กับโรคหลอดเลือดตีบแข็ง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2559;2(1):71-9.
Thijssen DH, Carter SE, Green DJ. Arterial structure and function in vascular ageing: are you as old as your arteries?. J Physiol 2016;594(8):2275-84.
เจตนา เรืองประทีป. สาระสำคัญเกี่ยวกับพยาธิวิทยาของหลอดเลือด. Asian Arch Pathol 2019;1(2):13-33.
Jonas W, Tim C, Hecke VW, Willem P, Spiering W, Huiberdina L, et al. Intracranial Arterial Calcification: Prevalence, Risk Factors, and Consequences: JACC Review Topic of the Week. J Am Coll Cardiol 2020;76(13):1595-604.
Johnson CP, Baugh R, Wilson CA, Burns J. Age related changes in the tunica media of the VA: implications for the assessment of vessels injured by trauma. J Clin Pathol 2001;54(2):139-45.
Kumar K. Microstructure of human arteries. J Anat Soc India 2001;3:137-40.
Engelen L, Ferreira I, Stehouwer CD, Boutouyrie P, Laurent S. Reference intervals for common carotid intima-media thickness measured with echotracking: relation with risk factors. Eur Heart J 2013;34(30):2368-80.
Jovanikić O, Lepić T, Raicević R, Veljancić D, Ristić A, Gligić B. Intimomedial thickness of the vertebral arteries complex: a new useful parameter for the assessment of atheroclerotic process?. Vojnosanit Pregl 2011;68(9):733-8.
Homma S, Hirose N, Ishida H, Ishii T, Araki G. Carotid plaque and intima-media thickness assessed by b-mode ultrasonography in subjects ranging from young adults to centenarians. Stroke 2001;32(4):830-5.
Dinenno FA, Jones PP, Seals DR, Tanaka H. Age-associated arterial wall thickening is related to elevations in sympathetic activity in healthy humans. Am J Physiol Heart Circ Physiol 2000;278(4):1205-10.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ