การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสและแอลฟากลูโคซิเดสของอาหารพื้นบ้าน อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
อาหารพื้นบ้าน, แอลฟาอะไมเลส, แอลฟากลูโคซิเดส, อำเภอชัยบาดาลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและส่วนประกอบของอาหารพื้นบ้านในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรีและ เพื่อศึกษาอาหารพื้นบ้านที่มีสารออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสและแอลฟากลูโคซิเดส โดยการสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านที่เชี่ยวชาญเรื่องอาหารพื้นบ้านสูตรดั้งเดิม จำนวน 7 คน นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาสรุปเป็นผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ งานวิจัยนี้เลือกตัวอย่างอาหารพื้นบ้าน จำนวน 6 ตัวอย่าง ได้แก่ แกงขี้เหล็ก แกงส้มผักรวม แกงเลียงใส่กะทิ แกงบอน แกงเลียงป่า และแกงป่ามะเขือ และนำไปทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมของแอลฟาอะไมเลสและแอลฟากลูโคซิเดสด้วยวิธี Colorimetric ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์พบว่า อาหารพื้นบ้านในอำเภอชัยบาดาลมีหลากหลายชนิดมีลักษณะเหมือนกับอาหารพื้นบ้านภาคกลาง ได้แก่ แกงเลียงผักหวานป่า แกงเลียงใส่กะทิ แกงป่า แกงส้ม แกงขี้เหล็กแกงบอน แกงต้มยำหัวปลี แกงหมูเทโพ แกงคั่วหอยขมใบชะพลู ต้มกะทิสายบัวใส่ปลา แกงปลากดหน่อไม้ดอง ปลาร้าสับทรงเครื่อง และน้ำพริกประเภทต่าง ๆ เช่น น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกขี้กา น้ำพริกกะปิ น้ำพริกนรก น้ำพริกตาแดง น้ำพริกเผา ส่วนประกอบของอาหารพื้นบ้านส่วนใหญ่ประกอบด้วยผักพื้นบ้านตามฤดูกาล เช่น ผักปลั่ง ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน มันเหน็บ ใบตำลึงสายบัว หน่อไม้ หัวปลีบอน ขี้เหล็ก ส่วนประกอบในเครื่องแกง ได้แก่ พริกขี้หนู พริกแห้ง ตะไคร้ หัวหอม กระเทียม กระชาย ข่า ผิวมะกรูด เกลือ และกะปิขึ้นอยู่กับชนิดของแกงปัจจุบันอาหารพื้นบ้านส่วนใหญ่เป็นสูตรแบบดัดแปลงตามวัตถุดิบที่มีในพื้นที่ ฤดูกาล และสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ผลการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งโรคเบาหวานของอาหารพื้นบ้านพบว่าแกงบอน แกงป่ามะเขือ แกงเลียงป่า และแกงเลียงใส่กะทิ สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งแอลฟาอะไมเลสได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง คือ 37.17±9.25, 36.69±3.29, 34.53±10.07 และ 33.57±9.82 ตามลำดับ สำหรับแกงเลียงป่า แกงเลียงใส่กะทิ และแกงบอนสามารถออกฤทธิ์ยับยั้งแอลฟากลูโคซิเดสได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง คือ 10.50±0.24, 9.82±0.28 และ 9.50±0.03 ตามลำดับ
References
ฉัตรชัย พวงขจร. ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ช่วยลดเบาหวาน ความดัน. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่[อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://pr.prd.go.th/ phrae/ewt_news.php?nid=672&filename=index
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. สถิติโรคเบาหวานในประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 18 มี.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http:// www.diabassocthai.org
นิพา ศรีช้าง. การคาดประมาณจำนวนประชากรที่เป็นโรคเบาหวานในประเทศ ในปี พ.ศ. 2554-2563. ใน: รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
ปีที่ 41 ฉบับที่ 39 วันที่ 8 ตุลาคม 2553. สำนักโรคไม่ติดต่อ. กรุงเทพฯ; 2553. หน้า 623.
ดุษณี ศุภวรรธนะกุล, รัศมี แสงศิริมงคลยิ่ง, ละอองทิพย์ มัทธุรศ, คงเอก ศิริงาม, สมคิด สุทธิธารธวัช. การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในการดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559;11(1):1-12.
กระทรวงมหาดไทย ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและพัฒนางานปกครอง. อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.amphoe.com
Hemalatha P, Bomzan DP, Rao BVS, Sreerama YN. Distribution of phenolic antioxidants in whole and milled fractions of quinoa and their inhibitory effects on α-amylase and α-glucosidase activities. Food Chem 2016;199:330-38.
Adefegha SA, Oboh G, Omojokun OS, Jimoh TOM, Oyeleye SI. In vitro antioxidant activities of African birch (Anogeissus leiocarpus) leaf and its effect on the α-amylase and α-glucosidase inhibitory properties of acarbose. J Taibah Univ Med Sci 2016;11(3):236-42.
Wongsa P, Chaiwarit J, Zamaludien A. In vitro screening of phenolic compounds, potential inhibition against α-amylase and α-glucosidase of culinary herbs in Thailand. Food Chem 2012;131(3):964-71.
Prangthip P, Charoenkiatkul S, Kettawan A, Okuno M, Okamoto T. Thai red curry paste lowers glucose, oxidative stress and insulin levels in type II diabetic rats. Int Food Res J 2012;9(2):623-7.
Chelladurai GRM, Chinnachamy C. Alpha amylase and alpha glucosidase inhibitory effects of aqueous stem extract of Salacia oblonga and its GC-MS analysis. Braz J Pharm Sci 2018;54(1):e17151.
อุสา พุทธรักษ์, เสาวนันท์ บําเรอราช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับนน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก้างปลา จังหวัดเลย. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 34 วันที่ 27 มีนาคม 2558. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น; 2558.
สุธาทิพ ภมรประวัติ. ฟักทองลดน้ำตาลในเลือด. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 348 [อินเตอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http:// www.doctor.or.th/article/detail/1207
สุธาทิพ ภมรประวัติ. กระชาย: ชะลอความแก่ และบำรุงกำลัง. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 315 [อินเตอร์เน็ต]. 2548 [เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doctor.or.th/article/detail/1321
Pawitra P, Natcha S, Thitiworada I, Hattaya I, Achida J, Benjamart C. In vitro α-amylase and α-glucosidase inhibitory activities of Coccinia grandis aqueous leaf and stem extracts. J Biol Sci 2017;17(2):61-8.
สุธาทิพ ภมรประวัติ. ผักตำลึง: อาหารสมุนไพรริมรั้ว. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 330 [อินเตอร์เน็ต]. 2549 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doctor.or.th/article/detail/1556
Kwon YI, Apostolidis E, Shetty K. In vitro studies of eggplant (Solanum melongena) phenolics as inhibitors of key enzymes relevant to type 2 diabetes and hypertension. Bioresour Technol 2008; 99(8):2981-8.
Manikandaselvi S, Divya RS, Thinagarbabu R. In vitro antidiabetic activity of aqueous fruit extract of Solanum torvum Sw. Int Res J Pharm 2018;9(9):145-51.
Jaiswal BS. Solanum torvum: a review of its traditional uses, phytochemistry and pharmacology. Int J Pharm Bio Sci 2012;3(4):104-11.
กรณ์กาญจน์ ภมรประวัติธนะ. มะกรูดสมุนไพรบำรุงผม. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 378 [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 18 ต.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.doctor.or.th/article/detail/10914
รุ่งฤดี ศรีสวัสดิ์. ผลของสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิดในเขตพื้นที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีที่มีต่อการทำงาน ของเอนไซม์ไลเปส เอนไซม์อะไมเลสและเอนไซม์กลูโคซิเดส. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา; 2555.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ