ผลของสารสกัดสมุนไพรและการพัฒนาตำรับครีมสมุนไพรในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus

ผู้แต่ง

  • นฤวัตร ภักดี สาขาวิชาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • จตุพร ประทุมเทศ สาขาวิชาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • ภานิชา พงศ์นราทร สาขาวิชาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • สุรพงศ์ รัตนะ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • รณชัย ภูวันนา สาขาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร https://orcid.org/0009-0009-5730-8464

คำสำคัญ:

กุ่มบก, กระเจียวแดง, ขันทองพยาบาท, การยับยั้งแบคทีเรีย, สแตปฟิโลคอคคัส, ออเรียส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนัง S. aureus และพัฒนาตำรับครีมสมุนไพร จากสารสกัดสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ ใบกุ่มบก (Crateva adansonii DC.) ดอกกระเจียวแดง (Curcuma sessilis Gage.) ใบขันทองพยาบาท (Suregada multiflorum Baill.) ใบตำลึงทอง หรือกระทกรก (Passiflora foetida L.) และใบน้อยหน่า (Annona squamosa Linn.) ด้วยเอทานอลร้อยละ 70, 95 และน้ำ ทดสอบการต้านเชื้อ S. aureus และพัฒนาตำรับครีมพื้น 4 สูตร นำสูตรที่มีค่าความคงตัวทางกายภาพและชีวภาพเหมาะสมที่สุดมาผสมสารสกัดสมุนไพรในสัดส่วนต่างกัน 4 ตำรับ และทดสอบการยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. aureus ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดใบน้อยหน่าด้วยการต้มให้ร้อยละของผลผลิตสูงสุด รองลงมาคือ ใบตำลึงทองและดอกกระเจียวแดง (ร้อยละ 10.88, 5.59 และ 4.81 ตามลำดับ) การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. aureus ด้วยวิธี Agar well diffusion พบว่าสารสกัดใบกุ่มบกด้วยเอทานอลร้อยละ 95 ที่ความเข้มข้น 666.60 µg/ml มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อดีที่สุด (18.67±1.53 mm) รองลงมาคือ สารสกัดดอกกระเจียวแดงด้วยน้ำ และสารสกัดใบขันทองพยาบาทด้วยเอทานอลร้อยละ 70 (13.33±1.53 mm และ 10.67±1.15 mm) ค่า MIC ของสารสกัดใบกุ่มบกและใบขันทองพยาบาทเท่ากับ 500 µg/ml และค่า MBC มากกว่า 5 mg/ml สูตรครีมพื้นที่ 4 มีค่าความคงตัวเหมาะสมที่สุด ส่วนตำรับครีมสมุนไพรที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยสารสกัดใบกุ่มบกและใบขันทองพยาบาทในอัตราส่วน 1:1 (ร้อยละ 36 ในตำรับครีม) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อดีที่สุด (15.33±4.51 mm) เทียบกับยา Dicloxacillin (36.25±0.54 mm, 40 µg/ml) ดังนั้นสารสกัดใบกุ่มบกด้วยเอทานอลร้อยละ 95% และใบขันทองพยาบาทด้วยเอทานอลร้อยละ 70 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ S. aureus สูงสุด และเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นตำรับครีมสมุนไพร

References

Ro BI, Dawson TL. The role of sebaceous gland activity and scalp microfloral metabolism in the etiology of seborrheic dermatitis and dandruff. J Investig Dermatol Symp Proc 2005;10(3):194-7.

Brewer JD, Hundley MD, Meves A, Hargreaves J, McEvoy MT, Pittelkow MR. Staphylococcal scalded skin syndrome and toxic shock syndrome after tooth extraction. J Am Acad Dermatol 2008;59(2):342-6.

Iwatsuki K, Yamasaki O, Morizane S, Oono T. Staphylococcal cutaneous infections: invasion, evasion and aggression. J Dermatol Sci 2006;42(3):203-14.

Lagnika L, Anago E, Atindehou M, Adjahoutonon B, Dramane K, Sanni A. Antimicrobial activity of Crataeva religiosa Forst against bacteria isolated from Thryonomys swinderianus Temminck. Afr J Biotechnol 2011;10(49):10034-9.

Rajamma AG, Bai V, Nambisan B. Antioxidant and antibacterial activities of oleoresins isolated from nine Curcuma species. Phytopharmacology 2012;2(2):312-7.

Jayshree P, Kumar V. Annona squamosa L.: phytochemical analysis and antimicrobial screening. J Pharm Res 2008;1(1):34-8.

Al-Nemari R, Al-Senaidy A, Semlali A, Ismael M, Badjah-Hadj-Ahmed AY, Ben Bacha A. GC-MS profiling and assessment of antioxidant, antibacterial, and anticancer properties of extracts of Annona squamosa L. leaves. BMC Complement Med Ther 2020;20(1):296.

Patel JD, Kumar V. Annona squamosa L.: phytochemical analysis and antimicrobial screening. J Pharm Res 2008;1(1):34-8.

Patil A, Paikrao H. Bioassay Guided Phytometabolites Extraction for Screening of Potent Antimicrobials in Passiflora foetida L. J App Pharm Sci 2012;2(9):137.

Mohanasundari C, Natarajan D, Srinivasan K, Umamaheswari S, Ramachandran A. Antibacterial properties of Passiflora foetida L.–a common exotic medicinal plant. Afr J Biotechnol 2007;6(23):2650-3.

Song Y, Wei XQ, Li MY, Duan XW, Sun YM, Yang RL, et al. Nutritional Composition and Antioxidant Properties of the Fruits of a Chinese Wild Passiflora foetida. Molecules 2018;23(2):459.

กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม นนทบุรี: ม.ป.พ.; 2541.

รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล, พร้อมจิต ศรลัมพ์, วงศ์สถิต ฉั่วกุล, วิชิต เปานิล, สมภาพ ประธานธุรารักษ์, นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. สมุนไพรยาไทยที่ควรรู้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2542.

นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์. สมุนไพรไทย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: บี เฮลท์ตี้; 2547.

Wutithamawech W, Tantirungkij M, Liangsakul P. Antibacterial potential of some Thai medicinal plants. Int J Pharm Bio Sci 2014;5(1):412-21.

Parekh J, Chanda S. Antibacterial and phytochemical studies on twelve species of Indian medicinal plants. Afr J Biomed Res 2007;10(2):175-81.

Agboke AA, Attama AA, Momoh MA. Evaluation of the antimicrobial activities of crude extract of Cryptolepis sanguinolenta and Crateva adansonii leaves and their interactions. J App Pharm Sci 2011;1(10):85-9.

Thirumalaisamy R, Ammashi S, Muthusamy G. Screening of anti-inflammatory phytocompounds from Crateva adansonii leaf extracts and its validation by in silico modeling. J Genet Eng Biotechnol 2018;16(2):711-9.

Pervaiz I, Hasnat M, Ahmad S, Khurshid U, Saleem H, Alshammari F, et al. Phytochemical composition, biological propensities, and in-silico studies of Crateva adansonii DC.: A natural source of bioactive compounds. Food Bioscience 2022;49:101890.

Jose S, Thomas TD. High-frequency callus organogenesis, large-scale cultivation and assessment of clonal fidelity of regenerated plants of Curcuma caesia Roxb., an important source of camphor. Agroforest Syst 2015;89(5):779-88.

อัญชลี ศรีจำเริญ. การสกัดดอกกระเจียวแดงและประเมินกิจกรรมต้านอนุมูลอิสระ เปรียบเทียบสภาวะก่อนและหลังการเลียนแบบกระบวนการย่อยอาหาร. วารสารวิทยาศาสตร์ มข 2560;45(4):844-57.

Al Kazman BSM, Harnett JE, Hanrahan JR. Traditional Uses, Phytochemistry and Pharmacological Activities of Annonacae. Molecules 2022;27(11):3462.

Emelda A, Arman, Yuliana D, Amin A. Antimicrobial Potency of Passiflora Foetida Linn from South Sulawesi Indonesia Against Bacteria In Vitro. Int J Pharm Technol 2015;7(3):9562-6.

Lukić M, Pantelić I, Savić SD. Towards Optimal pH of the Skin and Topical Formulations: From the Current State of the Art to Tailored Products. Cosmetics 2021;8(3):69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-25