รูปแบบการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ด้วยกิจกรรมครูคู่สัญญาของโรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ด้วยกิจกรรมครูคู่สัญญา ของโรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ด้วยกิจกรรมครูคู่สัญญา และศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้วยกิจกรรมครูคู่สัญญาดังกล่าว กลุ่มตัวอย่าง 20 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มไม่จบการศึกษา รูปแบบการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง มี 5 ขั้นตอน คือ 1) ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 2) โครงสร้างการบริหารและบทบาทหน้าที่ 3) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง 4) การกำกับติดตามผลการดำเนินงาน และ 5) การประเมินผลและรายงานผล
ผลการวิจัย มีดังนี้
- ประสิทธิภาพและความเหมาะสมในการนำรูปแบบการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้วยกิจกรรมครูคู่สัญญาไปใช้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.17 , S.D. = 0.67)
- รูปแบบการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ด้วยกิจกรรมครูคู่สัญญา ทำให้คุณภาพชีวิตของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.67 , S.D. = 0.98)
- รูปแบบการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ด้วยกิจกรรมครูคู่สัญญา สามารถลดภาวะเสี่ยงของนักเรียนเป็นรายบุคคลลง ทำให้นักเรียนไม่มีผลสัมฤทธิ์ที่เป็น 0, ร และ มส. มีพฤติกรรมดีขึ้น และจบการศึกษาตามกำหนดทุกคน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
กรมสามัญศึกษา. (2544). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัด
กรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2547). แนวทางการดำเนินงานระบบการช่วยเหลือ
นักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
นันทวัน ยันตะดิลก. (2551) การศึกษาสถานะสุขภาพเยาวชนไทย กลุ่มอายุ 15-24 ปี จากการ
วิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจโดยสถาบันการศึกษา องค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเยาวชน
ในช่วงปี 2548-2551.
เนาวรัตน์ ภิญวัย. (2547). “ความเอาใจใสของครูเพื่อการแก้พฤติกรรมการขาดเรียนของนักเรียน
กรณีศึกษา นายธรรศ บุณยนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3. ” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://www.acr.ac.th/acr/Wijaii/wijai2/26.pdf (30 กรกฎาคม 2555).
นนทรัตน์ เกื้อหนุน. (2553). การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาที่
ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์
เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สุพรรณิการ์ มาศยคง. (2554). คุณภาพชีวิตในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายใน
กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Siebs, William Richard. (1999). An Evaluation of the effectiveness of a school
within a school program designed to prevent high school dropouts in a
suburban high school. Retrieved February 5, 2006, from
http://www.od.arc.nrru.ac.th/dao/detail.nsp