การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ส13101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) A Study of Analytical Thinking Ability and Learning Achievement on S13101 Social Studies Course of Grade 3 Student Using the Learning Model 5 STEPs
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ให้มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของนักเรียนทั้งหมด 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ให้มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม และมีเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของนักเรียนทั้งหมด กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในปีการศึกษา 2564 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล คำนวณค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ
ผลวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 23.31 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 77.70 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ 21 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 24.25 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.83 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ 22 คน คิดเป็นร้อยละ 78.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
กนกวรรณ ขอบทอง. (2559). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสังคมศึกษาโดยการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (Big Five Learning) ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5.วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10 (4).
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.
งานบริหารวิชาการ โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี. (2563). ผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์นักเรียน ปีการศึกษา 2563. โรงเรียนบ้านหนองขามนาดี.
เจษฎา ราษฎ์นิยม. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบบันได้ 5 ขั้น ร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 6 (2), 97-115
ธัญรัตน์ สุขเกษม กิตติมา พันธ์พฤกษา และ นพมณี เชื้อวัชรินทร์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์ เรื่อง วิวัฒนาการ ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 3 (2), 24-36
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2559). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาส์น. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพ : ชมรมเด็ก.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
วิสุทธิ์ ตรีเงิน. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคม ในห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน. สุทธิปริทัศน์. 33 (105), 51-63.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2506-2579. กรุงเทพฯ. บริษัทพริกหวานกราฟฟิกจำกัด.
Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York: Addison Wesley Longman.
Benjamin S. Bloom. (1956).Taxonomy of Education objectives the classification of education goal handbook I Cognitive Domain. Longman INC: The United States of America.