ผลของการใช้บทเรียนออนไลน์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความก้าวหน้าทางการเรียน ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดเพชรบุรี Effects of Using Online Instructions on Students’ Learning Achievement and Learning Progression in the Small-Sized Secondary Schools in Phetchaburi Province

Main Article Content

พิริยะ วรรณไทย
อัจจิมา เผ่าจินดา
ธนกร มณีมรกฏ
จิตสุโข รวยรุ่ง
อัญชนา ใจอ่อน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาผลของการใช้บทเรียนออนไลน์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในบริบทของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดเพชรบุรี และ 2) ศึกษาผลของการใช้บทเรียนออนไลน์ต่อความความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี จำนวน 175 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการเลือกตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนออนไลน์ และ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และ Normalized gain ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งรายวิชาชีววิทยา (t = -19.724, p = .000) เคมี (t = -10.880, p = .000) ฟิสิกส์ (t = -12.007, p = .000) วิทยาศาสตร์ทั่วไป (t = -9.051, p = .000) และภาษาไทย (t = -18.483, p = .000) และ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์มีความก้าวหน้าทางการเรียนระดับสูงในรายวิชาชีววิทยา (<g> = 0.72) เคมี (<g> = 0.72) ฟิสิกส์ (<g> = 0.70) และมีความก้าวหน้าทางการเรียนระดับปานกลางในรายวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (<g> = 0.31) และภาษาไทย (<g> = 0.58)

Article Details

How to Cite
วรรณไทย พ., เผ่าจินดา อ., มณีมรกฏ ธ., รวยรุ่ง จ., & ใจอ่อน อ. (2023). ผลของการใช้บทเรียนออนไลน์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความก้าวหน้าทางการเรียน ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดเพชรบุรี: Effects of Using Online Instructions on Students’ Learning Achievement and Learning Progression in the Small-Sized Secondary Schools in Phetchaburi Province. คุรุสภาวิทยาจารย์, 4(1), 76–86. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247427
บท
บทความวิจัย

References

นฤมล จันทร์เรือง, สุรัตน์ ดวงชาทม, ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ. (2564). ปัญหาและแนวทางการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(35), 17-25.

นพมาศ ปลัดกอง. (2562). การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียนในระบบการศึกษาทางไกล โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคนั่งร้านเสริมเรียนรู้. (ปร.ด. จิตวิทยาประยุกต์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

นวัฒธนโชติ อัครสำราญวงศ์, สัญชัย พัฒนสิทธิ์, และณัฐพล รำไพ. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่อง งานธุรกิจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนลำบุหรี่พวง สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(3), 29-40.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 4(3), 285-298.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนากระบวนการคิดระดับสูงวิชาชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จาก http://biology.ipst.ac.th/?p=688

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด-19 กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษารายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 203-214.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). การย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2565, จาก https://bit.ly/3cN8bPB

ศุภเศรษฐ์ พึ่งบัว. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิชาอินเทอร์เน็ตด้วยแอปพลิเคชัน Google classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (กศ.ม. การสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

อิทธิพล พลเหี้ยมหาญ. (2562). โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ปัญหาใหญ่ของการศึกษาไทย. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 6(2), 93-103.

Hake, R. R. (1998). Interactive-engagement vs traditional methods: A six-thousand student survey of mechanics test data for introductory physics courses× American. Journal of Physics, 61(1), 64-74.

Knowles, M. (1975). Self-directed learning: A guild for learner and teacher. Chicago: Association Press.

Saputra, A. & Hidayani. (2021). The impact of e-learning on students’ academic achievement in English. Jurnal Keislaman dan Ilmu Pendidikan, 1(1), 124-137.

Steffe, L. P., & Gale, J. E. (1995). Constructivism in education. New York: Psychology Press.