การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงร้อยแก้วโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด “เล่าขานนิทานใต้” และ Matching Game สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 Development of Prose Reading Aloud Skills Using Active Learning Method and Lao-Khan-Ni-Tan-Tai Practice Reading Books and Matching Games for Grade 8 Student

Main Article Content

อรบุษย์ บุษย์เพชร

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงร้อยแก้วของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนเมืองกระบี่ อำเภอเมือง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 37 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) รูปแบบและแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด “เล่าขานนิทานใต้” 3) Matching Game 4) แบบวัดทักษะการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และทดสอบสมมติฐานการทดสอบค่า t แบบ Dependent Samples t-test


       ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้เชิงรุกรูปแบบใหม่ เรียกว่า NITAN มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.90/86.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2. ผลการวัดทักษะการอ่านออกเสียงร้อยแก้วของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามที่ออกแบบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 และ 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิชาภาษาไทยในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามที่ออกแบบ ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.62

Article Details

บท
บทความวิจัย