การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค SQ6R ร่วมกับแบบฝึกทักษะชุดวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย The Development of Reading Comprehension of Grade 6 Students by Using SQ6R Techniques with Sukhothai Local Literature Skills Exercises
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค SQ6R ร่วมกับแบบฝึกทักษะชุดวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านวังตะคร้อ (ธนาคารกรุงเทพ 5) จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ6R ร่วมกับแบบฝึกทักษะชุดวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย 2) แบบฝึกทักษะชุดวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ย (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความ
พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค SQ6R ร่วมกับแบบฝึกทักษะชุดวรรณกรรมท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
เคียง ชำนิ. (2565). หนังสืออ่านสร้างเสริมประสบการณ์ เรื่อง พระร่วงพระลือ วีรบุรุษสุโขทัยในตำนาน.พิษณุโลก : การพิมพ์ดอทคอม.
เจษฎา บุญโฮม และธิติรัตน์ รุ่งเรืองเกียรติ. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
โดยใช้แบบฝึกทักษะ. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 8 (2), 176-191.
ธันยาลักษณ์ สังขลักษณ์. (2564). การพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ6R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การ
ค้นคว้าอิสระ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
ปกรณ์ ประจันบาน. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิษณุโลก : รัตนสุวรรณการพิมพ์.
ปกรณ์ ประจันบาน. (2552). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยและประเมิน (Advanced Statistics for Research and Evaluation). (พิมพ์ครั้งที่ 4). พิษณุโลก: รัตน
สุวรรณการพิมพ์.
ปฏิญญา โกมลกิติสกุล. (2565). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ OK5R ร่วมกับเทคนิค
เพื่อนคู่คิด. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปิยฉัตร ศรีสุราช. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านเขาสมิง จังหวัดตราด.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
โรงเรียนบ้านวังตะคร้อ (ธนาคารกรุงเทพ 5). (2565). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านวังตะคร้อ (ธนาคารกรุงเทพ 5) ปีการศึกษา 2565.
สุโขทัย : โรงเรียนบ้านวังตะคร้อ (ธนาคารกรุงเทพ 5).
วารุณี ศิริมาศ. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มี ต่อ
ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ เจตคติต่อวิชาภาษาไทยและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 4 “รัฐประชานุ
เคราะห์”. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สมฤดี ทาแดง. (2564). การจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความด้วยเทคนิค KWL PLUS ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การค้นคว้าอิสระ
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อารีย์ ทองเพ็ง. (2556). ผลการจัดการเรียรการสอนด้วยวิธี SQ6R ร่วมกับเทคนิค KWL ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจในการอ่านและผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยทักษิณ.