ความต้องการจำเป็นในการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนวัดนวลนรดิศตามแนวคิดการมีสติ The Priority Needs for Student Affairs Management of Wat Nuannoradit School Based on the Concept of Mindfulness
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีสติของนักเรียน และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภูมิหลังกับการมีสติของนักเรียน และ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนวัดนวลนรดิศ ตามแนวคิดการมีสติ โดยมีผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียน โรงเรียนวัดนวลนรดิศ จำนวน 465 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดระดับการมีสติของนักเรียนและแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนวัดนวลนรดิศ ตามแนวคิดการมีสติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจําเป็น
ผลวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีสติของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ปัจจัยภูมิหลังที่ส่งผลต่อการมีสติของนักเรียนคือ ระดับการศึกษา และผลการเรียน และ 2) ความต้องการจำเป็นในการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนวัดนวลนรดิศตามแนวคิดการมีสติ ในภาพรวม เท่ากับ 0.326 เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นรายด้าน พบว่า งานวินัยและความประพฤติ มีความต้องการจำเป็นสูงสุด รองลงมาคือ งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามลำดับ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
กรมสุขภาพจิต. (2559). กรมสุขภาพจิต แนะ ฝึกสติ วัยรุ่นไทย ลดปัญหาความรุนแรง. สืบค้นจาก https://www.ryt9.com/s/prg/2463458
เกษรา เพิ่มสุขรุ่งเรือง. (2563). การเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิรายุ คำพิมพ์. (2562). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบ โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 7(28), 184-191.
จีระศักดิ์ เลพล. (2558). การพัฒนาชุดฝึกอบรม การฝึกเจริญสติแบบไหว-นิ่ง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เจนจิรา เพื่อนฝูง. (2556). การศึกษาการให้อภัยของนักเรียนวัยรุ่นในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดของเอนไรท์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โฉมฉาย กาศโอสถ. (2554). รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(3), 1-19.
ชัยเดช อารีศิริไพศาล. (2562). การบริหารกิจการนักเรียนที่มีคุณภาพ. สืบค้นจาก http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/miniconference/article/view/2063
ฐิตวี แก้วพรสวรรค์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความเป็นผู้มีสติของวัยรุ่นไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 57(4), 403–412.
ทองแดง แสวงบุญ (2564). การบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนปทุมราชวงศา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 179-188.
ปณิธิกฤติ์ เลิศล้ำ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกิจการนักเรียนกับคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 4(1), 13–22.
นเรนทร์ฤทธิ์ นันทะสิทธิ์. (2564). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวร่วมกับการฝึกสติเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ต่อตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ จังหวัดเชียงราย. วารสารราชพฤกษ์, 19(1), 67-75.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). (2559, 30 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง. หน้า 1-143.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). (2565, 1 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 115 ก. หน้า 1-215.
ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1-71.
โรงเรียนวัดนวลนรดิศ. (2565). รายงานการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนประจำปีการศึกษา 2565.
ลลิดา ภู่ทอง. (2560). ผลของการฝึกสติของนักศึกษา สาขา ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 5(2), 85-98.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2552 (ปรับปรุง พ.ศ. 2560).
สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. สืบค้นจาก http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_files/curriculum51_assess.pdf
วณิชย์ เอื้อน้อมจิตต์กุล. (2556). การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนงิ้วรายบุญมีรังสฤษดิ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วราภรณ์ บุญดอก. (2559). สภาพและปัญหาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจําเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อณัญญา เรืองวานิช. (2557). แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนนนทบุรีพิทยาคมสังกัดสํานักงานเขตพื้นทีการศึกษามัธยมศึกษาเขต 3. 24. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 4(7), 101-116.
อัญทลียา ยอดมั่น อานันต์ ทาปทา และชวนคิด มะเสนะ. (2560). สภาพ ปัญหา และแนวทางในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 1(3), 22-33.
อำนาจ ไพนุชิต. (2561). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกเจริญสติเพื่อพัฒนาสติบุคลากรของโรงเรียนและสติของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต] มหาวิทยาลัยศรินครินทรวิโรฒ.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2552). เอกสารประกอบการสอนวิชาทฤษฎีบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Baer, R. A. (2009). Self-focused attention and mechanisms of change in mindfulness-based treatment. Cognitive behavior therapy, 38(S1), 15-20.
Bishop, S. R., Lau, M., Shapiro, S., Carlson, L., Anderson, N. D., Carmody, J., Segal, Z. V., Abbey, S., Speca, M., & Velting, D. (2004). Mindfulness: A proposed operational definition. Clinical psychology: Science and practice, 11(3), 230.
Caballero, C., Scherer, E., West, M. R., Mrazek, M. D., Gabrieli, C. F., & Gabrieli, J. D. (2019). Greater mindfulness is associated with better academic achievement in middle school. Mind, Brain, and Education, 13(3), 157-166.
Kabat-Zinn, J., & Hanh, T. N. (2009). Full catastrophe living: Using the wisdom of your body and mind to face stress, pain, and illness. Delta.
Leary, M. R., & Tate, E. B. (2007). The multi-faceted nature of mindfulness. Psychological Inquiry, 18(4), 251-255.
Shapiro, S. L., Carlson, L. E., Astin, J. A., & Freedman, B. (2006). Mechanisms of mindfulness.Journal of Clinical Psychology, 62(3), 373-386.
Viafora, D. P., Mathiesen, S. G., & Unsworth, S. J. (2015). Teaching mindfulness to middle school students and homeless youth in school classrooms. Journal of Child and Family Studies, 24(1), 1179-1191.
Weare Katherine. (2013). Developing mindfulness with children and young people: a review of the evidence and policy context. Journal of Children's Services, 8(2), 141-153
Wills, H. P., Caldarella, P., Mason, B. A., Lappin, A., & Anderson, D. H. (2019). Improving student behavior in middle schools: Results of a classroom management intervention. Journal of Positive Behavior Interventions, 21(4), 213-227.