การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดาว โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านดงโทน จังหวัดบึงกาฬ Developing Learning Achievement in the Topic of Stars by Applying Active Learning with GPAS 5 Steps of Fifth Grade Students at Ban Dong Ton School, Bueng Kan Province

Main Article Content

เอกลักษณ์ ราชไรกิจ
สุภาวดี ศรีนุกูล

บทคัดย่อ

           การวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดาว โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ณ โรงเรียนบ้านดงโทน จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ดาว โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ จำนวน 10 แผน แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ


           ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ดาว โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 วงจรปฏิบัติการที่ 1 จำนวน 7 คน (ร้อยละ 63.64) วงจรปฏิบัติการที่ 2 จำนวน 9 คน (ร้อยละ 81.82) และวงจรปฏิบัติการที่ 3 จำนวน 11 คน (ร้อยละ 100) และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ จำนวน 11 คน มีความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 92.32 ซึ่งอยู่ในระดับ
เห็นด้วยมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

เอกลักษณ์ ราชไรกิจ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

เกิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2542 อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย

References

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน, วิสูตร โพธิเงิน, เอกชัย ภูมิระรื่น, และ มาเรียม นิลพันธุ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน GPAS 5 Step เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ในยุคไทยแลนด์ 4.0, วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 8(2), 131-145. https://shorturl.asia/UrydH

ชยพล ใจสูงเนิน, อรัญญา มุดและ, และ นิตย์ เนี่ยงน้อย. (2565). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้เชิงรุกด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ GPAS 5 Steps. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน, 14(41), 95-102. https://shorturl.asia/973lU

บุญศรี วราพุฒ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชและการจําแนกพืช โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี]. สารสนเทศท้องถิ่นอีสาน. https://shorturl.asia/kq6TO

เบญฐนาศิวรัตน์ ไกรทิพย์ และ เทอดเกียรติ แก้วพวง. (2565). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วย GPAS 5 steps ด้วยชุดกิจกรรม Green Box ของนักเรียน โรงเรียนบ้านมะกอก. วารสารหลักสูตรและการสอน, 14(41). 125-132. https://jci.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=1031

แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนบ้านดงโทน. (2566). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษา [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. ฝ่ายบริหารวิชาการ, โรงเรียนบ้านดงโทน.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. (2559, 30 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 115 ก. หน้า 15.

วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัย จากแนวคิด ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วิมล วิริยาเสถียร, กัญณภัทร หุ่นสุวรรณ, และ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. (2566). การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชาภาษาจีน เรื่อง คำศัพท์ชื่อสัตว์ โดยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดปุรณาวาส. วารสารนิสิตวัง, 25(1), 34-44. https://shorturl.asia/WtpkJ

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2560 – 2579. พริกหวานกราฟฟิค.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. The George Washington University.

Hattie, J., & Timperley, H. S. (2007). The power of feedback. Review of educational research, 77(1). 81-122. https:// doi.org/10.3102/003465430298487

Kemp, J. E. (1985). The Instructional Design Process. Harper & Row Publishers.

Meyers, C. (1993). Promoting active learning: strategies for the college classroom. Jossey-Bass.

Mezirow, J., & Associates. (2000). Learning as Transformation: Critical Perspectives on a Theory in Progress. Jossey-Bass.