จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ

           วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เป็นวารสารวิชาการที่มีความมุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ ดังนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย บรรณาธิการ (Editor)  ผู้เขียนบทความ(Authors) และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Reviewer) รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ โดยมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ ดังนี้

 

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ (Editor)

1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ โดยพิจารณาเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของประเภทบทความที่วารสารกำหนดไว้ รวมถึงการตรวจสอบ โดยคำนึงถึงคุณภาพบทความในกระบวนการประเมินและคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ และไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว

2. บรรณาธิการต้องใช้เหตุผลทางวิชาการในการพิจารณาบทความทุกครั้งโดยปราศจากอคติที่มีต่อบทความและผู้เขียน และต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนบทความหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่นำบทความหรือวารสารไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง

3. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ

4. บรรณาธิการต้องไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงไม่ปิดกั้นหรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนบทความ

5. บรรณาธิการสามารถตรวจสอบความถูกต้อง หรือปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำในบทความ โดยคำนึงถึงเนื้อหา และคุณภาพของบทความเป็นสำคัญ อีกทั้งต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด

6. บรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานของวารสาร รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัยเสมอ

7. บรรณาธิการจะไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบทความที่ส่งมายังวารสารกับผู้หนึ่งผู้ใดนอกจากผู้ประสานงานบทความ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ นอกจากนี้บรรณาธิการจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้กระบวนการพิจารณาบทความเป็นไปอย่างปกปิดแบบ 2 ด้าน (Double Blind) โดยไม่เปิดเผยรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิกับผู้ใด

8. หากบรรณาธิการตรวจพบว่า บทความมีการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) โดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูล ซึ่งสมควรถูกถอดถอน แต่ผู้เขียนปฏิเสธที่จะถอนบทความ บรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน ซึ่งถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบต่อบทความของบรรณาธิการ

 

 บทบาทหน้าที่ของผู้เขียนบทความ(Authors)

1. บทความที่จะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนและไม่ส่งต้นฉบับบทความซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น

2. ต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอหรืออ้างอิงในเนื้อหาบทความของตนเอง ทั้งเนื้อหา รูปภาพ สูตร ตาราง และรวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้เขียนนำมาใช้ในการอ้างอิงในบทความ

3. ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในบทความของตัวเอง
4. ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา

5. หากผลงานเป็นการศึกษาวิจัยและทำการทดลองในคนหรือสัตว์ทดลอง โดยการทดลองในคนอาจส่งผลกระทบต่อศักดิ์ศรี สิทธิ ความปลอดภัย และสุขภาวะของคน ขอให้แนบหนังสือรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง หรือแสดงหลักฐานว่าได้ดำเนินการตามหลักจริยธรรม ทั้งนี้การอนุมัติให้ลงตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสารฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด

6. ในบทความผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่เป็นเท็จ ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง หรือการปลอมแปลง บิดเบือนรวมไปถึงการตกแต่งข้อมูลซึ่งทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด

7. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการบทความจริง

8. ชื่อผู้เขียนบทความทุกคนที่ปรากฏในบทความหนึ่งบทความใดต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในผลงานวิชาการนี้จริง

9. การพบความผิดพลาดของบทความ ทั้งพบโดยผู้เขียน หรือบรรณาธิการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เขียนมีหน้าที่แจ้งต่อวารสารและประสานงานกับบรรณาธิการ เพื่อให้ปรับแก้บทความให้มีความถูกต้องหรือถอนบทความหากจำเป็น

 

บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Reviewer)

          วารสารแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่านที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ เพื่อประเมินบทความ โดยวารสารจะรักษาความลับทั้งด้านผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เขียนบทความ (Double Blind) ผู้ทรงคุณวุฒิมีหน้าที่ช่วยเหลือบรรณาธิการในการตัดสินว่าควรตีพิมพ์บทความหรือไม่ และในขณะเดียวกัน มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้เขียนเพื่อพัฒนาคุณภาพบทความ ผู้ทรงคุณวุฒิควรถอนตัวจากการพิจารณาบทความถ้าพบว่าตนเองไม่อาจประเมินบทความได้ด้วยสาเหตุใดก็ตาม บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิต่อการประเมินบทความมีดังนี้

1. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์

2. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน

3. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความควรรับประเมินบทความเฉพาะสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ และหากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนกัน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ

4. หากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความตรวจสอบพบว่าบทความที่รับประเมิน เป็นบทความที่คัดลอกผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที

5. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่กำหนด รวมถึงไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้