เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ OpenOffice, Microsoft Word หรือ RTF
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16 pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt (ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้นิพนธ์ (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

1. การส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์

บทความวิจัย (Research Article) มีความยาวประมาณ 8-12 หน้ากระดาษ A4 ควรประกอบด้วย ชื่อเรื่องภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนภาษาไทย และภาษาอังกฤษ พร้อมสถานที่ทำงาน บทคัดย่อภาษาไทย และบทคัดย่อภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เนื้อเรื่อง เอกสารอ้างอิง ประกอบด้วย
       • บทนำ (Introduction) บอกความเป็นมา หรือ ที่มาหรือความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี)
       • ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Literature Review)
       • ขั้นตอนวิธีการดำเนินการวิจัย (Methodology)
       • ผลการดำเนินการวิจัย (Results)
       • สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ (Conclusion and Recommendation)

บทความวิชาการ (Academic Article) มีความยาวประมาณ 8-12 หน้ากระดาษ A4 ควรประกอบด้วย ชื่อเรื่องภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนภาษาไทย และภาษาอังกฤษ พร้อมสถานที่ทำงาน บทคัดย่อภาษาไทย และบทคัดย่อภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เนื้อเรื่อง เอกสารอ้างอิง โดยเนื้อเรื่องเป็นบทความที่รวบรวมหรือเรียบเรียงจากหนังสือ เอกสาร ประสบการณ์หรือเรื่องแปล เพื่อเผยแพร่ความรู้ในสาขาต่างๆ หรือแสดงข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มีคุณค่าทางวิชาการ

บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)   บทความที่วิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาสาระให้เห็นคุณค่าของหนังสือ โดยบทวิจารณ์หนังสือจะต้องกล่าวถึงรายละเอียดของหนังสืออันประกอบด้วยชื่อผู้เขียน จำนวนหน้า ปีที่พิมพ์ ครั้งที่พิมพ์และสถานที่พิมพ์ให้ชัดเจน โดยประกอบด้วย ข้อมูลทางบรรณานุกรม ชื่อผู้วิจารณ์ และบทวิจารณ์

บทความปริทัศน์ (Article Review) เป็นงานทางวิชาการที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการเฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า มีการวิเคราะห์องค์ความรู้ทั้งทางกว้างและทางลึกอย่างทันสมัย โดยให้ข้อวิพากษ์ที่ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป ผู้นิพนธ์ควรตรวจสอบเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบทความที่นำเสนออย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาที่ใหม่ที่สุด บทความปริทัศน์ต้องนำเสนอพัฒนาการของเรื่องที่น่าสนใจ ข้อมูลที่นำเสนอจะต้องไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะผู้ที่อ่านที่อยู่ในสาขาของบทความเท่านั้น แต่ต้องนำเสนอข้อมูลที่ผู้อ่านในสาขาอื่น ๆ หรือนักศึกษาในระดับสูงสามารถเข้าใจได้  บทความปริทัศน์เป็นการนำเสนอภาพรวมของเรื่องที่น่าสนใจโดยในหน้าแรกของบทความปริทัศน์จะประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ คำสำคัญ บทนำ และบทสรุป

2. คำแนะนำในการเขียนและพิมพ์

2.1 ขอบเขตและนโยบายการรับบทความ

             กองบรรณาธิการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก มีความยินดีที่จะรับบทความจาก คณาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชั่น สาขานวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ/เทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขานวัตกรรมทางธุรกิจ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรงและต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น วารสารแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่านที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ เพื่อประเมินบทความ โดยวารสารจะรักษาความลับทั้งด้านผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เขียนบทความ (Double Blind)              

             ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร

2.2 คำแนะนำในการพิมพ์

บทความต้องมีความยาวประมาณ 8-12  ขนาดของกระดาษ ให้ใช้ขนาด A4 มีความยาว 8-12 หน้ากระดาษตัวอักษร รูปแบบของตัวอักษรให้ใช้ TH Sarabun New กรอบของข้อความ ควรจัดพิมพ์บทความด้วย Microsoft Word บนกระดาษขนาด A4 หน้าเดียวสำหรับการตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page setup) และส่วนระยะขอบ (Margins) กำหนดดังนี้ ขอบกระดาษด้านบน 2.5 ซม. (0.98”) ขอบกระดาษด้านล่าง 2 ซม. (0.79”) ขอบกระดาษด้านซ้าย 2 ซม. (0.79”) ขอบกระดาษด้านขวา 2 ซม. (0.79”)  เฉพาะผู้รับผิดชอบบทความ (Corresponding Author) ให้ระบุที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และ E-mail

2.3 แบบและขนาดตัวอักษร

                ใช้ตัวอักษรแบบ “TH SarabunPSK” ชื่อบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวหนา ชื่อผู้เขียน บทคัดย่อและเนื้อความต่างๆ ใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวปกติ ชื่อหัวข้อและหัวข้อย่อยใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวหนา

2.4 การเขียนเอกสารอ้างอิง

การอ้างอิงแบบ IEEE มีวิธีการดังนี้

  1. ใส่ตัวเลขกำกับไว้ในเครื่องหมาย [ ] ท้ายข้อความหรือชื่อบุคคลที่อ้างอิง โดยให้ตัวเลขอยู่ในระดับบรรทัดเดียวกันกับเนื้อหา เช่น [1]
  2. ให้ใส่ตัวเลขอ้างอิงเรียงลำดับตั้งแต่เลข 1 เป็นต้นไป ต่อเนื่องกัน และในกรณีที่มีการอ้างอิงซ้ำให้ใช้ตัวเลขเดิมที่เคยใช้อ้างมาก่อนแล้ว
  3. แหล่งที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดในเนื้อหาจะไปปรากฏอยู่ในบรรณานุกรม โดยการเรียงลำดับตามหมายเลข และพิมพ์หมายเลขอยู่ในเครื่องหมาย [ ]
  4. กรณีที่อ้างอิงเอกสารหลายรายการในคราวเดียวกัน
    • อ้างอิงไม่เกิน 2 รายการให้ใส่หมายเลขของเอกสารที่อ้างเรียงลำดับโดยใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่น เช่น [1, 2] หรือ [1, 5]
    • อ้างอิงเกิน 2 รายการและเป็นรายการที่ต่อเนื่องกันให้ใส่หมายเลขของเอกสารที่อ้างเรียงลำดับโดยใส่เครื่องหมายยัติภังค์ (-) คั่น เช่น [1-3] หรือ [1-5]
    • อ้างอิงเกิน 2 รายการและเป็นรายการทั้งต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง ให้ใส่หมายเลขของเอกสารที่อ้างเรียงลำดับโดยใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นในกรณีไม่ต่อเนื่อง และเครื่องหมายยัติภังค์ (-) คั่นในกรณีต่อเนื่อง เช่น [1, 4-5]

ตัวอย่างการอ้างอิงหนังสือ

  • สมชาย ประสิทธิ์จูตระกูล, การออกแบบและวิเคราะห์อัลกอริทึม, กรุงเทพฯ: เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC),
  • J.R. Quinlan, C5: Programs for Machine Learning, Morgan Kaufmann Publishers, San Meto, California, 1993.

 ตัวอย่างการอ้างอิงจากการประชุมวิชาการ

  • นิอัฟฟาน บินนิโซะ, นูรอิน สะมะแอ, กฤษณ์วรา รัตนโอภาส และสารภี จุลแก้ว, “ระบบเครือข่ายภายในเสมือน 10 Gigabit Ethernet บนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะด้วยเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่น,” ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 8: 2559, น. 726-735.
  • S. Müller, D. Bermbach, S. Tai, and F. Pallas, “Benchmarking the Performance Impact of Transport Layer Security in Cloud Database Systems,” in Cloud Engineering (IC2E) 2014 IEEE International Conference, Boston, Massachusetts, 2014, pp. 27-36.

 

ตัวอย่างการอ้างอิงจากวารสาร

  • นิตยา เงินประเสริฐศรี, “องค์การแนวนอน,” วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ปีที่27, ฉบับที่ 15, หน้า 37-42, มกราคม–มิถุนายน,

 ตัวอย่างการอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์

  • ปรินทร เต็มญารศิลป์, “การเตรียมและการวิเคราะห์คุณลักษณะเฉพาะของถ่านกัมมันต์จากไผ่ตงและไผ่หมาจู๋,” วิทยานิพนธ์ วท.บ. (เคมี), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ,
  • J. O.Williams, “Narrow-band analyzer,” Ph.D. dissertation (Electrical Engineering), Harvard University, Cambridge, MA, USA,

ตัวอย่างการอ้างอิงจากเว็บไซต์

  • William Stallings. (2003 Mar). The Session Initiation Protocol - The Internet Protocol” [Online]. Available: http://www.cisco .com/c/en/us/about/press/internet-protocol-journal/back-issues /table-contents-23/sip.html. [Accessed: Feb. 27, 2017].
  • บรรณากิจบรรจง ทองจาปา, “ประเภทของความสูญเปล่า,” [Online]. Available: http://onzonde.mulitiply.com/journal/item/61. [Accessed: 7 พฤศจิกายน 2551].

3. เกณฑ์การพิจารณาบทความ

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณค่าทางวิชาการ  ความสมบูรณ์ของเนื้อหาและโครงสร้าง ภาษาที่ใช้ ความชัดเจน ของสมมติฐาน/วัตถุประสงค์ ความชัดเจนของการนำาเสนอ และการจัดระเบียบบทความ ความถูกต้องทางวิชาการ การอภิปรายผล และการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ  บทความแต่ละบทความวารสารจะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่านที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ เพื่อประเมินบทความ โดยวารสารจะรักษาความลับทั้งด้านผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เขียนบทความ (Double Blind) ซึ่งกองบรรณาธิการอาจ ให้ผู้เขียนปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและทรงไว้ซึ่งสิทธิ ในการตัดสินลงพิมพ์หรือไม่ก็ได้ และต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อนหรือไม่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาเพื่อเผยแพร่ในวารสารอื่นๆ

4. การส่งบทความ

ส่งไฟล์บทความ .doc และ .pdf (ตารางและรูปให้บันทึกในรูปแบบของ .jpg แนบเพิ่มมาพร้อมกับไฟล์บทความ) ส่งกลับมายังเว็บไซต์  https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI

5. อัตราค่าธรรมเนียมในการขอรับการตีพิมพ์บทความ

  • 1. บทความวิจัยและบทความวิชาการภาษาไทย บทความละ 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน)
  • 2. บทความวิจัยและบทความวิชาการภาษาอังกฤษ บทความละ 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน)

โดยขอใช้ในการดำเนินการฉบับที่ 2 ปีที่ 3  (กรกฎาคม-ธันวาคม 2566) เป็นต้นไป ผู้เขียนจะต้องลงทะเบียนพร้อมจ่ายค่าธรรมเนียมโดยโอนเงินค่าธรรมเนียมไปที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนสรรพาวุธ ชื่อบัญชีมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกเลขที่ 180-0-21874-5 (ประเภทบัญชีออมทรัพย์) และส่งหลักฐานการชำระค่าตีพิมพ์มาที่ Email : sciandtech.sbc@gmail.com

 

หมายเหตุ : กรณีบทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ผู้เขียนไม่สามารถขอคืนเงินค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ได้