การลดความผิดพลาด และลดระยะเวลาในการหยิบสินค้า กรณีศึกษา บริษัท EUROSIA FOODS TRADING & AGENCIES CO., LTD. บทความวิจัย

Main Article Content

คัคณางค์ โคตรโยธา
วิชญุตร์ งามสะอาด
ปิยะเนตร นาคสีดี

บทคัดย่อ

การศึกษางานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการลดความผิดพลาดและลดระยะเวลาในการหยิบสินค้าในส่วนของคลังสินค้าแบบทั่วไป ซึ่งปัญหาที่พบคือกระบวนการจัดเก็บสินค้าไม่มีการแยกหมวดหมู่ของสินค้า ส่งผลให้กระบวนการในการหยิบสินค้าเกิดการรอคอยและมีความซ้ำซ้อนเนื่องจากพนักงานหยิบสินค้าไม่ทราบชื่อของสินค้าเพราะไม่มีป้ายสัญลักษณ์ ทำให้พนักงานจำเป็นต้องเปิดดูสินค้าภายในกล่องเพื่ออ่านชื่อของสินค้านั้นจากบรรจุภัณฑ์ทีละกล่อง อีกทั้งการจัดเก็บสินค้าที่ไร้รูปแบบทำให้เกิดความผิดพลาดในการหยิบสินค้า การหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาด้วยผังก้างปลา โดยผู้ศึกษาได้ทำการแบ่งกลุ่มประเภทของสินค้าตามหลักทฤษฎี ABC Analysis เพื่อทำการจัดผังคลังสินค้าตามทฤษฎีกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนการจัดเก็บสินค้า และนำแผนภูมิกระบวนการไหลมาวิเคราะห์ขั้นตอนกระบวนการในการหยิบสินค้า และทำการแก้ไขด้วยหลักการ ECRS Inventory classification และทฤษฎีการควบคุมด้วยการมองเห็น เพื่อการปรับปรุงวิธีการทำงานให้ง่ายขึ้นจะช่วยลดระยะเวลาการทำงานที่ซ้ำซ้อนและลดโอกาสการเกิดความผิดพลาดจากการทำงาน ผู้ศึกษาจึงได้ทำการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และได้นำเครื่องมือมาแก้ไขปัญหาเพื่อให้พนักงานสามารถหยิบสินค้าได้รวดเร็วและประสิทธิภาพงานที่ดียิ่งขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นก่อนปรับปรุง เกิดปัญหาการหยิบสินค้าผิดพลาด 123 ครั้ง จากการส่งมอบทั้งหมด 216 ครั้ง ในเดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม 2565 หลังการปรับปรุงในเดือนมกราคม 2566 เกิดความผิดพลาดเหลือ 0 โดยผลลัพธ์คิดเป็น 100%  ในส่วนของกระบวนการหยิบสินค้าที่ล่าช้าจากกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ทำให้ระยะเวลาก่อนการปรับปรุงเป็น 85.2 นาที ต่อ 1 คำสั่งซื้อ และผลลัพธ์หลังการปรับปรุงกระบวนการทำงาน  ทำให้ระยะเวลาหลังการปรับปรุงเป็น 61 นาที ต่อ 1 คำสั่งซื้อ คิดเป็นระยะเวลาลดลงเฉลี่ย 28.4%

Article Details

How to Cite
[1]
โคตรโยธา ค. ., งามสะอาด ว., และ นาคสีดี ป. ., “การลดความผิดพลาด และลดระยะเวลาในการหยิบสินค้า กรณีศึกษา บริษัท EUROSIA FOODS TRADING & AGENCIES CO., LTD.: บทความวิจัย”, JSCI-SBU, ปี 3, ฉบับที่ 2, น. 14–31, ธ.ค. 2023.
บท
บทความวิจัย

References

C. Tonsakun-aree, N. Juturat and C. Kuntonbutr, "Integration of information in the ERP System affecting the efficiency of the Supply Chain Performance of the frozen food industry in Thailand," Kasem Bundit Engineering Journal, vol. 10, pp. 1-11, May-August 2020.

W. Maneesuwan and T. Wasusri, "Green Logistics Management VS Thai Logistics Service Provider's Potency," KMUTT Research and Development Journal, vol. 37, no. 2, pp. 215-226, 2014.

W. Atthirawong and W. Panprung, "Driving Force to Application of Green Logistics Management for OTOP Entrepreneurs," Thai Journal of Science and Technology, vol. 24, no. 2, pp. 225-239 ,2016.

A. Vanichchinchai and S. Apirakkhit, "An identification of warehouse location in Thailand", Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics, vol. 30, no. 3, pp. 749-758, 2018.

P. Setsathien and K. Kerdphon, "Increasing efficiency of warehouse management," Rajabhat Rambhai Barni Research Journal, vol. 13, no. 2, pp. 65-72, 2019.

U. Cherdchom and P. Peerapattana, "The improvement of warehouse management system to determine storage location for the product: A case study of Northeast distribution center," Science & Technology Ubon Ratchathani University, vol. 21, no. 2, pp. 65-74, 2019.

D. Senarak and D. Kritchanchai, "Supply-Processing-Distribution Models for Hospital Supply Chain-A Case Study of Hospital Supply Chain in Thailand," 9th International Conference on Operations and Supply Chain Management,pp.1-18, December 2019.

T. Suesut, V. Tipsuwanporn, S. Gulphanich and J. R. P. Sukprasert, "A design of automatic warehouse for internet based system," IEEE International Conference on Industrial Technology 2002. IEEE ICIT '02, vol. 1, pp. 313-316, 2002.

Sudarat Pimonratnakan, "The supply chain management of agricultural commodities orchids in Budhamonthon Nakhon Pathom province," Veridian E-Journal Silpakorn University, pp. 1595-1610, 2017.