การประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบสำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง บทความวิจัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบสำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร จากการศึกษาการส่งมอบวัตถุดิบในปัจจุบัน พบว่า ทางโรงงานยังไม่มีเกณฑ์การพิจารณาที่ชัดเจนและเหมาะสม สำหรับการประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบแต่ละราย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (AHP) เพื่อกำหนดค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยในการประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบให้กับทางโรงงานโดยเฉพาะกลุ่มลานมัน เนื่องจากมีปริมาณการส่งมอบที่มากกว่ากลุ่มเกษตรกร สำหรับการกำหนดปัจจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและปรึกษาจากผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อวัตถุดิบและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยทั้ง 3 ด้าน เรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านคุณภาพ (0.674) 2) ปัจจัยด้านปริมาณ (0.225) และ 3) ปัจจัยด้านการส่งมอบ (0.101) ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ค่าน้ำหนักสามารถจัดลำดับความสำคัญของผู้ส่งมอบวัตถุดิบลานมันในแต่ละปัจจัย และจัดลำดับความสำคัญของผู้ส่งมอบวัตถุดิบลานมันในภาพรวมได้ นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้ทำการจัดกลุ่มผู้ส่งมอบวัตถุดิบออกเป็นกลุ่ม AA, BB และ CC ตามค่าคะแนนและลำดับความสำคัญ ซึ่งก็จะเป็นข้อมูลช่วยสำหรับการตัดสินใจให้กับทางโรงงานในการคัดเลือกผู้ส่งมอบวัตถุดิบและสามารถกำหนดแนวทางในการพัฒนาผู้ส่งมอบวัตถุดิบเชิงกลยุทธ์ได้ในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์และเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
References
Bank of Ayudhya Public Company Limited, “Industrial Business Trends tapioca, Business customers,” [Online]. Available: https://www.krungsri.com. [Accessed: December 30, 2021].
Ministry of Industry, “Improving Production Efficiency and Energy Utilization for Tapioca Industry,” [Online]. Available: https://tapiocathai.org. [Accessed: November 25, 2021].
N. Koohathongsumrit, “Selecting the best logistics provider by the Fuzzy analytic hierarchy process: A case study of rubber products manufacturing,” RMUTSB Academic Journal, vol.6,no.2, pp. 182-193, 2020.
S. Niemsakul and J. Niemsakul, “Supplier evaluation and selection by analytical hierarchy process (AHP): A case study of metal production company,” Sripatum Chonburi Academic Journal, vol.15,no.3, pp. 104-113, 2021.
S. Khunlan, “Application of the AHP Method of Prosthetics and Orthotics Components Manufacturer Selection: A Case Study of Prosthetics and Orthotics Company,” Journal of Interdisciplinary Research, vol.8,no.2, pp. 476-484, 2021.
K. Thammasaeng and S. Pathumnakul, “Raw Material Supplier Selectionin Starch Industry using Application of AHP FSM and SAW,” KKU Research Journal, vol.22,no.3, pp.87-96 ,July-September 2020.
Zhang. H, “Selecting Hardware Parts Supplier using Analytic Hierarchy Process (AHP): A Case Study of a Pulp Making Company in Chonburi Province Thailand,” independent research (M.B.A.) Graduate School Bangkok University, Bangkok, 2021.
J. Intakarn, “Analytical Hierarchy Process (AHP) in the Suppliers Evaluation and Selection: A Case Study of Thai Dessert Community Enterprise Nakhon Nayok,” Phranakhon Rajabhat Research Journal, vol.16, no.2, pp. 120-129, 2021.
K. Sripathomswat, “Development of Strategic Supplier Evaluation: A Case Study of Wood Suppliers in Furniture Industry,” Ladkrabang Engineering Journal, vol.39,no.2, pp.