การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งร่วมกับ MQTT เพื่อพัฒนาต้นแบบระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบอัตโนมัติ
Main Article Content
Abstract
การศึกษานี้เป็นการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) มาควบคุมและติดตามการปลูกผักในระบบไฮโดรโปนิกส์ที่สามารถสร้างเงื่อนไขในการเพาะปลูกให้มีการทำงานแบบอัตโนมัติผ่านหน้าแอพพลิเคชัน โดยใช้รูปแบบการส่งข้อมูลแบบ Message Queuing Telemetry Transport (MQTT) ที่สามารถออกแบบการทำงานแบบไม่มีเซิฟเวอร์ ผ่านการจัดการอุปกรณ์ด้วยโปรเกรมสร้างเงื่อนไขแบบโฟลชาร์ต (Low-coding) สำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้ประกอบไปด้วย Arduino UNO และ NodeMCU ในการทดลองเพาะปลูกใช้กรีนโอ๊ค (Lactuca sativa var.crispa L.) เป็นพืชตัวอย่าง ทดสอบการเจริญเติบโตของพืชโดยเปรียบเทียบความสูงต้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต้น และน้ำหนักต้นสด ผลการวิจัยพบว่าต้นแบบระบบปลูกผักที่ได้พัฒนาขึ้นให้ผลการเจริญเติบโตในด้านน้ำหนักต้นสด และความสูงต้น สูงกว่าฟาร์มเชิงพานิชย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ยังมีระบบติดตามการเจริญเติบโตของผักแบบเรียลไทม์โดยการใช้เซนเซอร์ที่มีค่าความถูกต้องสูง (R2=0.98) โดยระบบต้นแบบสามารถอำนวยความสะดวกในการเพาะปลูก ได้แก่ การเปิด/ปิดการพ่นละอองน้ำเพื่อควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ การติดตามและควบคุมความเข้มข้นของธาตุอาหาร ติดตามสภาพแวดล้อมในโรงเรือน และการติดตามการเจริญเติบโต ทำให้มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตผักปริมาณมากในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2558). การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กฤษฎา พวงสุวรรณ และสุภาวดี มากอ้น. (2656). การพัฒนนาแอปพลิเคชันควบคุมฟาร์มอัจฉริยะของโรงเรือนเพาะเลี้ยงระบบปิดสำหรับก้อนเชื้อเห็ดแครง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 15(2), 165-175. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/eng_ubu/article/view/244700
คมกฤษณ์ ชูเรือง. (2561). การวัดการละลายของปุ๋ยในการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้ค่าความนำไฟฟ้า. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ, 4(1), 29-33. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/view/177045
พรคิด อั้นขาว (2562).ระบบควบคุมสารละลายธาตุอาหารแบบอัตโนมัติ สำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วย Internet of Things (IoT). วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 11(1), 146-157. https://www.repository.rmutsv.ac.th/bitstream/handle/123456789/1082/FullText.pdf?sequence=1&isAllowed=y
ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ. (2552). การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (Soilless Culture). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาพืชสวนคณะเกษตร กําแพงแสน.
บริษัท พ่อขุน กรุ๊ป จำกัด. (2564, 8 สิงหาคม). ต้องมีเงินเท่าไร ถึงจะมีแอปฯ ของตัวเองได้. https://appzerotohero.com/how-to-create-application/app-making-cost/
ปวันนพัสตร์ ศรีทรงเมือง, ชาญณรงค์ ศรีทรงเมือง, สุมนา บุษบก และชุติกานต์ หอมทรัพย์. (2564). การพัฒนารูปแบบระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือนปลูกพืชโดยใช้คอมพิวเตอร์แบบฝัง. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 20(1), 21-29. https://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2563/research.rmutsb-2563-20200805134658195.pdf
รัฐศิลป์ รานอกภานุวัชร์. (2561). ระบบควบคุมโรงเรือนผักไฮโดรโปนิกส์อัตโนมัติโดยใช้เทคโนโลยี IoT และเครื่องมือการเรียนรู้เชิงลึก. Journal of Information Science and Technology, 8(2), 74-82. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JIST/article/download/156097/117582/
ธิติศักดิ์ โพธิ์ทอง, ประสิทธิ์ เมฆอรุณ, และ สิทธิชัย ชูสำโรง. (2562). การพัฒนาระบบฟาร์มอัจฉริยะสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ด้วยซอร์ฟแวร์รหัสเปิดและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. วารสารเกษตรนเรศวร, 16(20), 10-17. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/247974
Mishra, R.L. & Jain, P. (2015). Design and implementation of automatic hydroponics system using ARM processor. International Journal of Advanced Research in Electrical, Electronics and Instrumentation Engineering, 4(8), 6935-6940. https://www.ijareeie.com/upload/2015/august/16_Design.pdf
Vinzenso, T., Roberta, B., Andrea, F., Cristina, G., Paolo, B., Stefano, S. & Giuseppe, N. (2020). Reducing Nitrate Accumulation and Fertilizer Use in Lettuce with Modified Intermittent Nutrient Film Technique (NFT) System. Agronomy, 10(8), 1208-1223. https://doi.org/10.3390/agronomy10081208