ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันในการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพถ่ายดาวเทียมในรายวิชาการสำรวจข้อมูลระยะไกลเบื้องต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาการสำรวจข้อมูลระยะไกลเบื้องต้นสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ที่มีประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กับเกณฑ์ที่กำหนด 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนจากการเรียนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน และ 4) ศึกษาทักษะกระบวนการในการเรียนรู้ร่วมกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีปีที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 33 คน ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2555 เครื่องมือที่ใช้การศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ 1 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของการแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการสำรวจข้อมูลระยะไกลเบื้องต้นหน่วยที่ 4 เรื่อง การประมวลภาพเชิงเลขโดยกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน ที่มีประสิทธิภาพ 85.61/80.38 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันอยู่ในระดับมาก และมีทักษะกระบวนการในการเรียนรู้ร่วมกันอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
[2] คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2553). หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[3] สมนึก ภัททิยธนี. (2541). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. มหาสารคาม: ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[4] บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
[5] เผชิญ กิจระการ. (2545). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (E1/ E2). วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 7 : 67–72 ; กรกฎาคม.
[6] วิทยา อารีราษฎร์. (2549). การพัฒนารูปแบบการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแบบอัจฉริยะและมี ส่วนร่วมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[7] ชนะชัย อวนวัง. (2554). การใช้ Social Network ในการเรียนการสอนแบบโครงงาน รายวิชาโลกศาสตร์. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
[8] สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล.(2554).การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการเรียนรู้เป็นทีมของนิสิต ปริญญาบัณฑิตด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนร่วมกันด้วยกรณีศึกษาและเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ต่างกัน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.