รูปแบบการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

ศรีวิไล นิราราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา  คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 299 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษา และสถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา  คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการชี้แจงกระบวนการ 2) ขั้นร่วมประสานความสำเร็จ และ 3) ขั้นตอนปัจฉิมนิเทศสร้างความภาคภูมิใจ โดยขั้นตอนประสานความสำเร็จประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมพาคิดหัวข้อ กิจกรรมต่อยอดการทำนวัตกรรม กิจกรรมเรียนรู้การทำวิจัย และกิจกรรมทดลองใช้และสรุปผล 2) ผลการศึกษาการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักศึกษาสำเร็จการศึกษา จำนวน 273 คน คิดเป็นร้อยละ 91.30 3) ผลการศึกษาการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษาพบว่า นักศึกษาทำวิจัย 10 ประเภทและ 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษามีต่อการจัดการศึกษาตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด  (= 4.79, S.D. = 0.49)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.(2552).คู่มือหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2551. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา พ.ศ.2550.มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.
[2] คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ.(2554).รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2554. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[3] สยาม แกนขุนทด. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการเรียนการสอนอาชีวศึกษาโดยการวิเคราะห์อภิมาน,Technical Education Journal King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.(2) 2, July - December 2013.
[4] อุทุมพร จามรมาน. (2531). การสังเคราะห์งานวิจัย:เชิงปริมาณ.กรุงเทพฯ: พันนี่พลับบลิชิ่ง.
[5] Best, John W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc.