การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ปัญหาเพื่อพัฒนาชุมชน ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ปัญหาเพื่อพัฒนาชุมชนด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร 2) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ปัญหาเพื่อพัฒนาชุมชน 3) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ปัญหา และ 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการให้บริการวิชาการด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร กลุ่มเป้าหมาย มี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 นักศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร จำนวน 30 คน และกลุ่มที่ 2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 2 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามประเมินคุณภาพกิจกรรม 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา 3) แบบทดสอบวัดความรู้ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครู
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ประกอบของกิจกรรม มี 3 ส่วน คือ สื่อและแหล่งเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้และบริการวิชาการสู่ชุมชน และเป้าหมายกิจกรรม โดยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงใจต่อการใช้กิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการให้บริการวิชาการอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
[2] Duch, B., Groh, S. and Allen, D. (eds.). The power of problem-based learning. USA : Stylus Publishing.20.
[3] Barrows, H.S. and Tamblyn, R.M. (1980). Problem-based learning: an approach to medical education. Springer Publishing, New York, N.Y.
[4] ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (2544). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
[5] บุญส่ง แสนภักดี. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง การเคลื่อนที่กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[6] ธีรพัฒน์ อุทธกรี, วิไลวรรณ สาระมู, สินใจ เทินชัยภูมิ และ สุธาทิพย์ ค้ำอุดม. (2555). รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem-based Learning (PBL). สืบค้นจาก
http://comed5kku.wordpress.com/การจัดการเรียนรู้
[7] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
[8] อภิชาติ เหล็กดี. (2557). ผลการสังเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ปัญหาเพื่อพัฒนาชุมชนด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร. การประชุมวิชาการระดับชาติการ
จัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 1 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. จังหวัดมหาสารคาม.
[9] อภิชาติ เหล็กดี. (2557). การสังเคราะห์รูปแบบกิจกรรมค่ายอาสาเพื่อการเรียนรู้สื่ออีดีแอลทีวี สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กเครือข่าย เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. การประชุม
วิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 10 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ.
[10] วรปภา อารีราษฎร์ และอภิชาติ เหล็กดี. (2556). รูปแบบกิจกรรมค่ายอาสาเครือข่ายอีดีแอลทีวีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.