การส่งเสริมการใช้ Cloud Computing ในการบริการวิชาการ ของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

วิญญู อุตระ
เทอดชัย บัวผาย
ธวัชชัย สหพงษ์
กาญจนา ดงสงคราม
พลวัฒน์ อัฐนาค

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาครูโดยใช้ Cloud Computing และ 2) ศึกษาผลการอบรมครูตามแนวทางที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรอบรม แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรอบรม Google Application แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรอบรม Office 365 และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ Cloud Computing สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test


            ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการพัฒนาครูโดยใช้ Cloud Computing โดยออกแบบหลักสูตรอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นหลักสูตรการประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อการเรียนรู้ โดยเนื้อหาหลักสูตรประกอบไปด้วย 7 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ Google Drive, Google Docs, Google Slide, Google Form, Google Site, Google Calendar และ Google classroom ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรโดยเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ผู้เข้าอบรมมีความรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 และมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรอบรมการสร้างแบบทดสอบมาตรฐาน และคลังข้อสอบออนไลน์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ศราฤทธิ์ ไหวเคลื่อน. (2555). ระบบการจัดการการลาบนอุปกรณ์พกพาโดยใช้ปฏิทินกูเกิ้ลเพื่อการแสดงผล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
[2] มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2559). คู่มือใช้งาน Microsoft Office 365 สืบค้นจาก https://www.cmru.ac.th/cmru-mail/files/manual.pdf
[3] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). นโยบาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ผู้แต่ง.
[4] พรชัย เจดามาน, และคณะ. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อการบริหารจัดการสู่การเปลี่ยนผ่านศตวรรษที่ 21 : ไทยแลนด์ 4.0. วารสารคณะครุศาสตร์, No.2(1), 1-14.
[5] เดชพล ใจปันทา. (2559). กิจกรรมการส่งเสริมครูประยุกต์ใช้สื่อประสมเพื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม, มหาสารคาม.
[6] สมฤทธิ์ ขจรโมทย์ . (2559). การบริหารจัดการการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[7] วรปภา อารีราษฎร์, และพลวัฒน์ อัฐนาค. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรมการประยุกต์ใช้ Google
Application เพื่อการเรียนรู้. วารสารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, No.3(1), 7-14.
[8] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2550). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[9] ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน. (2558). บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[10] กาญจนา ดงสงคราม. (2557). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรม Training The Trainer. วารสารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏมหาสารคาม No.1(1), 73-83.