การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้เป็นทีมด้วยกระบวนการแบบโครงงานผ่านอินโฟกราฟิก

Main Article Content

ดวงใจ พุทธเษม

บทคัดย่อ

      การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการแบบโครงงานผ่านอินโฟกราฟิก และ 2) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์และพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นทีมของนักเรียนที่เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานผ่านอินโฟกราฟิก ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอนในกลุ่มโรงเรียนโกรกพระ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานการประถม ศึกษาพื้นที่การศึกษานครสวรรค์เขต 1 จำนวน 21 โรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 21 คน  และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนกับครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลโกรกพระ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้เป็นทีมด้วยกระบวนการแบบโครงงานผ่านอินโฟกราฟิก แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t-test


        ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ของครูผู้สอนที่ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานผ่านอินโฟกราฟิกอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 80.10 และผลการทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนรู้แบบโครงงานผ่านอินโฟกราฟิกหลังเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ที่สูงขึ้น ภาพรวมค่าเฉลี่ยทั้ง 3 ด้าน คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 19.77  คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 45.07 และผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมของนักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการแบบโครงงานผ่านอินโฟกราฟิกพบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สุวิทย์ มูลคำ. 2551. กลยุทธ์การสอนคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
[2] สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. 2542. “แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์”, สารพัฒนาหลักสูตร, 47-56.
[3] ธรรมรัตน์ เจริญพงศ์. 2558. Infographic คืออะไร. สืบค้นจาก https://www.slideshare.net/YuiNawaporn/infographic-54911959.
[4] ประคอง กรรณสูต. 2540. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[5] จงรัก เทศนา. 2557. การออกแบบอินโฟกราฟิกส์ (Infographics) learningstudio. Available at: http://www.learningstudio.info/infographics-design.
[6] พยอม ศรีสมัย. 2551. ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดวิจารณญาณ ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
[7] มาฆะ ทิพย์คีรี. 2547. การวิจัยการสอนโครงงานระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.
[8] ยุทธนา กุตนันท์. 2545. การศึกษาผลการเรียนปฏิบัติอุปกรณ์เซ็นเซอร์แบบที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยวิธีโครงงาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี, กรุงเทพฯ.
[9] วิชิต สุรัตน์เรืองชัย. 2550. การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. วารสารหลักสูตรและการสอน, 1(1), 52-57.