การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์และการเรียน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กรณีศึกษารายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Main Article Content

กริช กองศรีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้บทเรียนออนไลน์ โดยใช้ t-test แบบ t-test independent โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภาคการศึกษาเทอม 2/2559 จำนวน 2 กลุ่มเรียน กลุ่มเรียนละ 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เอกสารประกอบการสอนและแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 2) การใช้สื่อมัลติมิเดียประเภท Infographic ในการเรียนการสอน


ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนออนไลน์และการใช้บทเรียนออนไลน์กับแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ได้ผลการทดลอง ดังนี้ คะแนนเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียนในการทดลองแบบที่ 1 เท่ากับ 5.59 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียนในการทดลองแบบที่ 2 เท่ากับ 8.35 คะแนน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคะแนนทดสอบหลังเรียนแบบที่ 1 เท่ากับ 1.23 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคะแนนทดสอบหลังเรียนแบบที่ 2 เท่ากับ 1.62

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ศิขรินทร์ธาร โคตรสิงห์ และคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 11(2), 40-52.
[2] ศยามน อินสะอาด. (2555). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Project Based Learning ในรายวิชาเกมและ สถานการณ์จำลองเพื่อการศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี: รายงานวิจัย.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
[3] ประภัสสร กองทอง, รัชนีวรรณ ตั้งภักดี, และ ณัฐกร สงคราม. (2558). ผลการเรียนการสอนผ่านเว็บโดยใช้ ปัญหาเป็นฐาน ที่มีรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนแตกต่างกัน ในวิชาระบบ
ฐานข้อมูล ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(1), 36-47 .
[4] ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง และ ปาริฉัตร อุทัยพันธ์. (2559). ความเข้าใจและความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์ ต่อการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาล
และการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 39-52 .
[5] ภัทราวดี มากมี. (2555). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 5(1), 7-14.