การพัฒนากิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีมัลติพอยท์สำหรับครูผู้สอน ด้วยกระบวนการกลุ่ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีมัลติพอยท์สำหรับครูผู้สอนด้วยกระบวนการกลุ่ม 2) พัฒนาชุดฝึกอบรมกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีมัลติพอยท์สำหรับครูผู้สอนด้วยกระบวนการกลุ่ม 3) ศึกษาผลการทดลองใช้ชุดฝึกอบรมกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีมัลติพอยท์สำหรับครูผู้สอนด้วยกระบวนการกลุ่ม และ 4) ติดตามผลการนำเทคโนโลยีมัลติพอยท์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน กลุ่มเป้าหมายเป็น ครูโรงเรียนในเครือข่ายไอซีที คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีมัลติพอยท์สำหรับครูผู้สอนด้วยกระบวนการกลุ่ม ประกอบด้วยกิจกรรม 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 นำเสนอตัวอย่าง ขั้นที่ 2 สาธิตการสร้างงาน ชั้นที่ 3 ปฏิบัติการสร้างชิ้นงาน และขั้นที่ 4 อภิปรายผล โดยแต่ละขั้นมีสื่อเครื่องมือ ขั้นตอนการอบรม และผลลัพธ์ที่ได้จากการอบรม 2) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อชุดฝึกอบรมกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีมัลติพอยท์สำหรับครูผู้สอนด้วยกระบวนการกลุ่มมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้ชุดฝึกกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีมัลติพอยท์สำหรับครูผู้สอนด้วยกระบวนการกลุ่ม ผู้เข้ารับการอบรมมีผลงานจากการปฏิบัติใบงานกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก และผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในกิจกรรมระดับมากที่สุด และ 4) ผลการศึกษาการนำเทคโนโลยีมัลติพอยท์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน จำนวน 5 โรงเรียน พบว่า ครูได้นำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ ระยะเวลา 3 ชั่วโมง ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้โดยเฉลี่ยร้อยละ 92.00 และความพึงพอใจกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
[2] ติณณภพ หลวงมณีวรรณ. (2555). การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการใช้สื่อเทคโนโลยีมัลติพอยท์เมาส์ของโรงเรียนบ้านขุน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ใน การประชุมสัมมนา
วิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15. (น.467-479). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
[3] สุลาวัลย์ มาชัย. (2554). การพัฒนามัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ โดยใช้เทคโนโลยีมัลติพอยท์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย
ราชภัฎมหาสารคาม.
[4] สุภาวดี จันเกื้อ. (2554). การพัฒนามัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้เทคโนโลยีมัลติพอยท์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
[5] ประไพวรรณ โชติจำรัส. (2559). การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมครูประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมัลติพอยท์โดยใช้ กระบวนการกลุ่ม ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ “การจัดการเทคโนโลยีและ
นวัตกรรม” ครั้งที่ 2 NCTIM 2016. (น.93-100). มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[6] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม.
[7] เดชพล ใจปันทา, วรปภา อารีราษฎร์, และธรัช อารีราษฎร์. (2559). การส่งเสริมครูประยุกต์ใช้สื่อผสมเพื่อการ เรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(1), 59-72.
[8] ธรัช อารีราษฎร์ และ วรปภา อารีราษฎร์. (2559). ผลการพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเผย แพรองค์ความรูภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, ปีที่ 6(2), 63-77.