การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่บูรณาการสู่การเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา

Main Article Content

เทอดชัย บัวผาย

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษารายวิชาสัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี  2) ศึกษาผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษากับผู้เรียนรายวิชา สัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี และ 3) ศึกษาการยอมรับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในรายวิชาสัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยีของครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี  หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต รุ่นที่ 1 จำนวน 17 คน ที่ลงทะเบียนรายวิชา สัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี ในภาคเรียนที่ 3/2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เอกสารประกอบการสอน แบบ มคอ.3  แบบวัดผลการเรียนรู้ และ แบบสอบถามการยอมรับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของ TAM สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


            ผลการวิจัย พบว่า  1) กิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาสัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี ได้สอดแทรกการเรียนการสอนและกิจกรรมแบบสะเต็มศึกษา 4 ครั้ง จำนวน 16 ชั่วโมง โดยสอดแทรกการบรรยายหลักการและแนวคิดของสะเต็มศึกษา 1 และปฏิบัติการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ในเรื่องการพับจรวด  โดยจัดทำเป็นหลักสูตรอบรม ผลการศึกษากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การพับจรวด ที่มีองค์ประกอบของหลักสูตร ได้แก่ หลักการเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร ระยะเวลา กิจกรรมในการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล  2) ผู้วิจัยได้การบูรณากาผลการวิจัยสู่การเรียนการสอน ในรายวิชา สัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี-1 โดยการปรับปรุงรายละเอียดแผนการสอนหรือ มคอ.3  รายวิชา 7090103  สัมมนาด้านการจัดการเทคโนโลยี-1  กำหนดประเด็นหัวข้อการเผยแพร่กระบวนการการเรียนรู้แบบ STEM Education  ไว้ในสัปดาห์ที่ 9-10  และ 3) จากผลการรับฟังการบรรยายผลการวิจัย เรื่อง รูปแบบ STEM Education  ส่งผลให้นักศึกษา  จำนวน 2 คน ได้วิจัยเรื่องเกี่ยวกับ รูปแบบ STEM Education  จำนวน 2 คน ได้แก่ นางสาวกาญจนา ดงสงคราม ชื่อเรื่อง รูปแบบการใช้เทคโนโลยี RMU MOOC โดยประยุกต์ใช้ STEM Education  และ นายเกียรติศักดิ์ โคกลือชา  ชื่อเรื่อง รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ โดยประยุกต์ใช้ STEM Education สำหรับการเรียนการสอนรายวิชา ไฟฟ้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2560). การศึกษาแบบ STEM เพื่อการจัดการเรียนการสอน. สืบค้นจาก http://www.preschool.or.th/knowledge_stem.php
[2] สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร สสวท, 42(186), 3-5.
[3] พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร,33(2), 49-56.
[4] อภิสิทธิ์ ธงไชย และคณะ. (2555). STEM education. สืบค้นจาก จาก http://designtechnology.ipst.ac.th/uploads/STEMeducation.pdf
[5] สายสมร เฉลยกิตติ, จุฑารัตน์ บันดาลสิน, กุสุมา กังหลี, และพรนภา คำพราว. (2557). การศึกษาผลของการบูรณาการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชา วทศท 101 การ
ศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ต่อความมีจิตอาสาและความสุขในการเรียนของนักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 1. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 421-429.
[6] วรปภา อารีราษฎร์. (2555). การศึกษาผลการเรียนรู้จากการบูรณาการงานบริการวิชาการและงานวิจัย เรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการเรียนรู้ สู่การเรียนการสอน รายวิชาสัมมนาทาง
คอมพิวเตอร์ศึกษา ใน เอกสารประชุมวิชาการการส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการเรียนรู้ของชุมชน เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (น.11-19). มหาสารคาม:
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[7] Best, John W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.
[8] มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและทูตสะเต็ม. วารสาร สสวท, 42(185), 14-18.
[9] ฤทัย เพลงวัฒนา. (2556). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ. วารสาร สสวท, 42(185), 19-22.
[10] นิรมิษ เพียร ประเสริฐ. (2555). เรียนรู้แบบ STEM ผ่าน “หุ่นยนต์”: สร้างการมีส่วนร่วมของนักเรียน. วารสาร สสวท, 42(185), 22-25.