ระบบผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์วินิจฉัยโรคทั่วไปด้วยเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ ผ่านสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชัน

Main Article Content

ฐานิดา สุริยะวงศ์

บทคัดย่อ

                 งานวิจัยเรื่องระบบผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์วินิจฉัยโรคทั่วไปด้วยเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ ผ่านสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์บนสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชัน และผู้พัฒนาได้นำแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับผู้ใช้ และแบบการประเมินประสิทธิภาพระบบงานด้วยการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญซอฟต์แวร์จำนวน 5 คน และ กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 30 คน โดยใช้แบบสอบถามมาตรวัดอัตราส่วน 5 ระดับ 4 หัวข้อ คือ ด้านฟังก์ชัน ด้านประสิทธิภาพการทำงาน ด้านความง่ายต่อการใช้งาน และด้านความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งมีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 35 คน


            ผลการวิจัยพบว่า ระบบที่ได้พัฒนามีผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับดี และผู้ใช้งานระบบมีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] มะลิวัลย์ ฉุนหอม. (2554). ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI).
สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/pattyloveloveit53/ngan-ni-xngreiyn/artificial-intelligemce-ai
[2] ทรงศักดิ์ กะตารัตน์. 2553. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES). โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม, มหาสารคาม.
[3] ทวีศักดิ์ นาคมวง. (2547). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems). สืบค้นจาก
http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/107/index.html
[4] ชิดชนก ศรีชัยวงค์, (2557). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อวินิจฉัยโรคใบลำไยด้วยเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University, 1(6),
1-14. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/VESTSU/article/view/34922/28999
[5] สุรสีห์ น้อยมหาไวย, และปานจิตร์ หลงประดิษฐ์. (2557). แอพพลิเคชันรับรู้และแสดงตำแหน่งสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีตาม การจำแนกกลุ่มของผู้ใช้ด้วยกูเกิ้ลแมพเอพีไอ บนมือถือ
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. การประชุมวิชาการระดับชาติ “การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม” ครั้งที่ 2, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.