การพัฒนารูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน และ 2) สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการจัดการทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้ การเรียนรู้แบบโครงงาน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 นโยบาย กรอบแนวคิด เป้าหมาย ส่วนที่ 2 หลักการ ทฤษฎี ส่วนที่ 3 ระบบการจัดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน ส่วนที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในระบบจัดการเรียนการสอน ส่วนที่ 5 ตัวบ่งชี้ของรูปแบบ 2) ผู้เชี่ยวชาญ
มีความเห็นต่อความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.40) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า
ความเหมาะสมด้านองค์ประกอบของรูปแบบ นโยบาย กรอบแนวคิดและเป้าหมาย อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.78
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44) ความเหมาะสมด้านนโยบาย กรอบแนวคิดและเป้าหมาย แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 5.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.00) ความเหมาะสมด้านรูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน แนวคิดการเรียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์และการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33) ความเหมาะสมด้านองค์ประกอบของระบบการจัดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33) ความเหมาะสมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในระบบจัดการเรียนการสอน Learning Management System และ Video Streaming อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 5.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.00) ความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ ประสิทธิภาพของระบบการจัดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีและคะแนนการทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนอยู่ในระดับสูง
อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33) และความเหมาะสมด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน ผู้เรียนศึกษาด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์และผู้เรียนจับกลุ่มร่วมกันทำกิจกรรมโครงงาน อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 5.00
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.00)