การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนของเดวีส์ผ่านสื่อสังคม เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปด้านเอกสาร สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนของเดวีส์ผ่านสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปด้านเอกสาร สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติระหว่างผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนของเดวีส์ผ่านสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปด้านเอกสาร สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพกับการเรียนการสอนปกติ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนของ เดวีส์ผ่านสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปด้านเอกสาร สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นปีที่ 1 ทั้งหมดมีจำนวน 2 หมู่เรียน วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 2 กลุ่มดังนี้ 1) กลุ่มผู้เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนของเดวีส์ผ่านสื่อสังคม จำนวน 20 คน 2) กลุ่มผู้เรียน ด้วยวิธีปกติจำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการสอนโดยแผนการสอนแบบปกติ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ผ่านสื่อสังคม 2) แบบวัดทักษะปฏิบัติ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนของเดวีส์ผ่านสื่อสังคม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที่ (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนของเดวีส์ผ่านสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปด้านเอกสาร สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยภาพรวม มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า แผนการเรียนรู้ที่มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด คือ แผนการเรียนรู้ที่ 3 การใช้งานตาราง รองลงมา คือ แผนการเรียนรู้ที่ 2 การตกแต่งเอกสาร ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ แผนการเรียนรู้ที่ 1 การสร้างเอกสาร 2) กลุ่มผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนของเดวีส์ผ่านสื่อสังคม มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 25.75 ส่วนผู้เรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนปกติเท่ากับ 18.55 และเมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากรูปแบบการเรียนการสอนของ เดวีส์ผ่านสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนของ เดวีส์ผ่านสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติโปรแกรมสำเร็จรูปด้านเอกสาร สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยภาพรวม มีระดับความพึงพอใจ มากที่สุด
Article Details
References
[2] ทัตธนันท์ พุ่มนุช. (2553). “การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคม (Social Network) เพื่อพัฒนาในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม.” Veridian E-Journal. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. Vol.5 No. 1 January – April 2012: หน้า 523-540.
[3] นันทพร มรกต (2556). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยทักษะปฏิบัติการด้วยบทเรียนบนเว็บ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft Power Point 2007 วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขาหลักสูตรและการสอน
[4] วันชัย แย้มจันทร์ฉาย. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานกับการเรียนตามปกติ. นครสวรรค์ : สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42.
[5] สําลี รักสุทธี. (2545). แนวการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : เรืองแสงการพิมพ์.
. (2553). การจัดทําสื่อนวัตกรรมและแผนฯประกอบสื่อนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.
[6] ทิศนา แขมมณี. (2550). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : โอเดียนสแควร.
[7] ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นามมี บุคส์พับลิเคชั่นส์.
[8] วรางคณา เวชพูล. (2559). การพัฒนาทักษะปฏิบัติโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[9] Marquez, R. (2011). Analysis of social Networking : good Idea or Not?. U.S.A. : Kennesaw State University.
[10] ณัฐสุดา จั่นอาจ. (2559). การเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาผ่านเครือข่ายสังคม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.