ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการฐานข้อมูลผู้รับบริการและอัตราค่าบริการ แบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One stop service) ของศูนย์บริการสุขภาพราษฎร์พิษณุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบระบบฐานข้อมูลและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลผู้รับบริการและอัตราค่าใช้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One stop service) ของศูนย์บริการสุขภาพราษฎร์พิษณุ มีขั้นตอนการดำเนินเริ่มจากการวิเคราะห์ระบบงานเดิม ศึกษาปัญหาและความต้องการ เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบใหม่ โดยใช้ Yii Framework และเจคิวรี่ (JQuery) เป็นเครื่องมือในการพัฒนา และใช้มายเอสคิวแอล (MySQL) สำหรับจัดการฐานข้อมูล
ผลการพัฒนาระบบสารสนเทศจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร และพนักงานของสถานประกอบการ พบว่ามีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 โดยระบบมีความสามารถในการทำงานทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความสามารถในการทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ มีค่าเฉลี่ย 4.63, SD=0.43, 2) ด้านหน้าที่การทำงานของระบบ มีค่าเฉลี่ย 4.42, SD=0.56, 3) ด้านการใช้งานของระบบ มีค่าเฉลี่ย 4.78, SD=0.59 และ 4) ด้านความปลอดภัยของระบบ มีค่าเฉลี่ย 4.80, SD=0.56 โดยระบบสารสนเทศนี้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลการให้บริการของสถานประกอบการได้ และผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลการให้บริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
Article Details
References
[2] กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์. (2541). แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับงานสาธารณสุขในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
[3] เอกชัย แน่นอุดร และวิชา ศิริธรรมจักร. การเขียนโปรแกรมบนอินเตอร์เน็ต. มหาสารคาม : อภิชาติ การพิมพ์ 2552.
[4] เอกบิณ ใจแก้วมา. (2559). การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นด้วย Yii Framework 2. ลำปาง : บริษัท ไดร์ฟซอฟท์ จำกัด.
[5] กนกศักดิ์ เอื้ออิสระวิมล. (2553). การพัฒนาระบบสารสนเทศคลินิกทันตกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[6] วิรัญญา บูรณารมย์. (2550). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[7] โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. ระบบฐานข้อมูล (Database Systems). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2551.
[8] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
[9] กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และจําลอง ครูอุตสาหะ. คัมภีร์ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จํากัด. 2542.