การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้กูเกิ้ลแอพพลิเคชั่นเพื่อสนับสนุนการแนะแนวการศึกษา สำหรับสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

กนิษฐา อินธิชิต
วรปภา อารีราษฎร์
จรัญ แสนราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการประยุกต์ใช้กูเกิ้ลแอพพลิเคชั่นเพื่อสนับสนุนการแนะแนวการศึกษา สำหรับสถาบันอุดมศึกษา และ 2) สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการประยุกต์ใช้กูเกิ้ลแอพพลิเคชั่นเพื่อสนับสนุนการแนะแนวการศึกษา สำหรับสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการประยุกต์ใช้กูเกิ้ลแอพพลิเคชั่นเพื่อสนับสนุนการแนะแนวการศึกษา สำหรับสถาบันอุดมศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


         ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการประยุกต์ใช้กูเกิ้ลแอพพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการแนะแนวทางการศึกษาประกอบด้วย5ส่วนหลัก คือ ส่วนที่ 1 นโยบายและความสำคัญ  ส่วนที่ 2 หลักการแนวคิด ส่วนที่ 3 ระบบสนับสนุนการแนะแนวทางการศึกษา ส่วนที่ 4 เทคโนโลยี และส่วนที่ 5ตัวชี้วัดความสำเร็จ  2) ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย  2.1) ความเหมาะสมของรูปแบบการประยุกต์ใช้กูเกิ้ลแอพพลิเคชั่นเพื่อสนับสนุนการแนะแนวการศึกษา สำหรับสถาบันอุดมศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด  (ค่าเฉลี่ย 4.80ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความเหมาะสมองค์ประกอบของรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.85ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44)  ความเหมาะสมของด้านนโยบาย/ความสำคัญ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.83ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25)ด้านความเหมาะสมของหลักการและแนวคิดอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.89ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33)  ด้านความเหมาะสมของระบบสนับสนุนการแนะแนวทางการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.78ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.46) ด้านความเหมาะสมของตัวชี้วัดความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.78ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44) และด้านความเหมาะสมของเทคโนโลยี อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.75ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45)  2.2) ความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด  (ค่าเฉลี่ย 4.75ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49)  เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานPDCAอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.63ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66)  ด้านความเหมาะสมของบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.81ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.43)และด้านความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.75ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กนิษฐา อินธิชิต. (2559). ระบบสนันสนุนการจัดเก็บเอกสารหนังสือเข้าและเอกสารหนังสือออกอยางเป็นระบบสำหรับศูนย์
[2] ชาครีย์ ศรีวิชัย. (2557). ระบบสนันสนุนการจัดเก็บเอกสารหนังสือเข้าและเอกสารหนังสือออกอยางเป็นระบบสำหรับศูนย์นวัตกรรมและการจัดการความรู้ (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[3] ณัฐแก้ว ข้องรวด . (2552). ศึกษารูปแบบการแนะแนวการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่เพชรบูรณ์ เขต 1 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
[4] นพพล วงศ์ต๊ะ. (2557). ระบบการจัดการด้านเวลาเข้าทำงานบนสถาปัตยกรรมแบบกลุ่มเมฆ โดยใช้กูเกิลแอพเอ็นจิน (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[5] ธณัฐชา รัตนพันธ. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้การจัดกิจกรรมเป็นฐานผ่าน Google Apps for Education. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 3: 2557 “การบูรณาการงานวิจัยไทยเชื่อมโยงกับเครือข่ายสังคมอาเซียน”.
[6] กนิษฐา อินธิชิต. (2559). ระบบสนันสนุนการจัดเก็บเอกสารหนังสือเข้าและเอกสารหนังสือออกอยางเป็นระบบสำหรับศูนย์
[7] Best, John. W. Research in Education. 3nd. Ed., Englewood Cliffs, New Jersey. Prentice-Hell,Inc ; 1997.
[8] สมพร วงศ์วิธนู, (2555), การบริหารงานแนะแนว โดยใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA) ของโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 2, การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยพะเยา.