ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชั่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชั่น 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชั่น และ 3) ประเมินผลความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้งานระบบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ จำนวน 5 ท่าน กลุ่มที่ 2 อาจารย์ผู้สอนจำนวน 10 ท่าน และ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 50 คน การพัฒนาระบบครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วงจรการพัฒนา SDLC เป็นต้นแบบในการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชั่น 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ 3) แบบประเมินผลความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้งานระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชั่น ประกอบด้วย ระบบจัดการผู้ใช้ จัดการข้อมูลรายวิชา ระบบติดตามการเรียนการสอน ระบบการวัดและประเมินผล และระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบสารสนเทศแบ่งผู้ใช้งานออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้ดูแลระบบ ผู้สอน และ ผู้เรียน 2) ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศโดยผู้เชี่ยวชาญภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้งานระบบทั้งกลุ่มผู้สอนและผู้เรียนมีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
[2] กิตติพงษ์ พุ่มพวง และ อรรคเดช โสสองชั้น. (2547). คู่มือการใช้งาน Moodle (เวอร์ชั่น 1.4.2)
สำหรับผู้สอน, เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ SEQIP Workshop 2, โครงการการศึกษาไร้พรมแดน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. สืบค้นจาก http://www.sut.ac.th
[3] ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2544). การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียนการสอน.
ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์สาร, 28(1), 87-94.
[4] บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
[5] พูลศักดิ์ หลาบสีดา และ นาคุณ ศรีสนิท. (2559) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานบริการของสายงานเทคโนโลยี
และสารสนเทศภายในบริษัท: กรณีศึกษา บริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร .เอกสารประกอบการประชุม
วิชาการระดับชาติ “นเรศวรวิจัย”ครั้งที่12 วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ. (น. 237-247). พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[6] ภูวดล บัวบางพลู. (2554). การพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายระดับอุดมศึกษา. วารสาร SDU
Research, 7(2), 1-17.
[7] มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าพระนครเหนือ.
[8] รักศักดิ์ เลิศคงคาทิพย์. (2551). ระบบการจัดการเรียนการสอน LMS (Learning Management System). สืบค้นจาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/SUTjour/vol21_22/02LMS.pdf
[9] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2561). โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ
[10] หทัยชนก แจ่มถิ่น และอนิรุทธ์ สติมั่น. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ระดับบัณฑิตศึกษาสำหรับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.วารสารวิชาการ Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 893-911.
[11] อําไพ พรประเสริฐสกุล. (2544). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[12] โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.