การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ประกอบสื่อประสม เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อ มัดเล็กและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1

Main Article Content

เบญจวรรณ คำมา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ประกอบสื่อประสม
เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80 2) เปรียบเทียบพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ประกอบสื่อประสม เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 3) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ประกอบสื่อประสม เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ประกอบสื่อประสม เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ห้อง 6 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายอนุบาลศึกษา จำนวน 41 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ประกอบสื่อประสมเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 2) สื่อประสม 3) แบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย 4) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ


ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ประกอบสื่อประสม เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 84.33/86.8  
2) พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ประกอบสื่อประสม
เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความคิดสร้างสรรค์ หลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ประกอบสื่อประสม
เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก และ 4)   ความพึงพอใจการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ประกอบสื่อประสม เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีความพึงพอใจด้านเนื้อหา คิดเป็นร้อยละ 92.68 มีความพึงพอใจด้านสื่อและอุปกรณ์ในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 95.12 มีความพึงพอใจด้านเทคนิคการนำเสนอ คิดเป็นร้อยละ 97.56


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[2] กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2540. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
[3] ปิยะดนัย วิเคียน (2555). เทคโนโลยีสื่อประสม. นิตยสาร สสวท. ปีที่ 42 ฉบับที่ 186 มกราคม – กุมภาพันธ์ 2555.
[4] ประนัดดา รัตนไตรมาส. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบต่อเติมที่มีต่อการพัฒนาการด้านการเขียนของเด็ก ปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
[5] พรเทพ เมืองแมน. (2544). การออกแบบและพัฒนา CAI Multimedia ด้วย Authorware. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[6] คำวัง สมสุวรรณ. (2551). การส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมการปั้นดิน. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
[7] สมศรี เมฆไพบูลย์วัฒนา. (2551). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ร้อย
ดอกไม้. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
[8] สุมิตรา ชาตานันท์. (2551). การพัฒนาความพร้อมทางภาษาของเด็กปฐมวัย โดยใช้สื่อประสม. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
[9] Schmid RF, Miodrag N, Francesco N Di, Marco M, Iriarte L, Pern. (2010). Learning Management Based on Process Learning. 10(1), 11.
[10] Dvorakova BP. (2001) .The Communicative Approach: Learners’ Perspective.
[11] ณภัทสรณ์ นรกิจ. (2555). ความสามารถในการใช้มือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยเมล็ดพืช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
[12] บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น.