การวัดการใช้งานได้ของระบบสมรรถนะการปฏิบัติงาน

Main Article Content

ศิริพร โรจนโกศล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงาน สำหรับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT Competency 2) ศึกษาปัจจัยของการใช้งานได้ (Usability) ของระบบ ICT Competency และ 3) วัดการใช้งานได้ของระบบ ICT Competency กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนในบทบาทผู้ประเมินสมรรถนะ 28 คน และผู้จัดการประเมิน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ซอฟต์แวร์พัฒนาระบบ Visual Studio 2015 Community Edition 2) ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2014 3) แบบสังเกตการใช้งานได้ (Usability Test) และ 4) แบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ระบบสมรรถนะการปฏิบัติงาน (ICT Competency) รองรับการประเมินสมรรถนะ 3 ประเภท คือ สมรรถนะหลัก สมรรถนะเฉพาะสายอาชีพ  และสมรรถนะการบริหาร ซึ่งเป็นการประเมินแบบ 360 องศา การวัดการใช้งานได้ (Usability) ของระบบ ICT Competency ใน 4 องค์ประกอบ คือ 1) ความสามารถในการเรียนรู้ระบบของผู้ใช้ (Learnability) 2) ความสามารถในการเข้าใจ รับรู้ในการสื่อสาร (Understandability) 3) ประสิทธิผลในการทำงานของระบบ (Effectiveness) 4) ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (Satisfaction) ด้วยการวัดความสามารถของผู้ใช้ในการใช้งานระบบ และประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้ใช้ ผลการศึกษาพบว่า ระดับการใช้งานได้ของระบบสูงมากในทุกฟังก์ชัน และในผู้ใช้งานทุกช่วงอายุ ค่าเฉลี่ยคือ 98.71% และผลประเมินประสิทธิภาพโดยผู้ใช้โดยรวมสูงมากมีค่าเฉลี่ย 4.54

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ขจรศักดิ์ ศิริมัย. (2554). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมรรถนะ. สืบค้นจาก http://competency.rmutp.ac.th/
wp-content/uploads/2011/01/aboutcompetency.pdf
[2] ทัศนีย์ เกริกกุลธร, ศักดิธัช ทิพวัฒน์, จันทิมา เขียวแก้ว, ธนณัฏฐ์ สากระสันต์ และสุพรรษา พรหมสุคนธ์. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 11(2), 61-77
[3] ปิติภูมิ โพสาวัง, สถิตโชค โพธิ์สะอาด, วีรพงษ์ พลนิกรกิจ และวสันต์ ภัทรอธิคม. (2551). การใช้งานได้ของแบบสำรวจบนเว็บ สำหรับความคิดเห็นของผู้ใช้ถนนต่อการรายงานการจราจร. Suranaree J. Soc. Sci. 2(2). 19-36.
[4] พจนานุกรมสมรรถนะการปฏิบัติงาน (Competency Dictionary) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 2561. (2561). มหาวิทยาลัยมหิดล : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล.
[5] ศรัณน์พัชร์ ไผ่พูล. (2559). สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[6] ศศิธร จิมากรณ์. (2556). สมรรถนะหลักกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของเลขานุการ สํานักงานศาลยุติธรรม. (สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก http://mis.krirk.ac.th/librarytext/MPA/2557/F_Sasithon_Jimakon.pdf
[7] สนั่น หวานแท้. (2553). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและการสืบค้นสำหรับการบริหารงานบุคคล. คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (งานค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม. สืบค้นจาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Sanan_Wanthae/fulltext.pdf
[8] อุบล สุทธน. (2557). การนำสารสนเทศมาใช้ในการติดตามผลการบริหารงานบุคคล. สืบค้นจาก www.local.moi.go.th/ubon.ppt.
[9] Eelke Folmer and Jan Bosch. (2004), Architecting for Usability; a Survey. ScienceDirect. 70(1-2). 61-78.
[10] Jakob Nielsen. (2012). Usability 101: Introduction to Usability. Retrieved from https://www.nngroup.com/articles/usability-101-introduction-to-usability/.
[11] SDLC – Waterfall Model. (2019). สืบค้นจาก https://www.tutorialspoint.com/sdlc/sdlc_waterfall_model.htm