การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามรูปแบบแนวคิดของกาเย่ รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา

Main Article Content

ธีรวัฒน์ กัดมั่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามรูปแบบแนวคิดของกาเย่ 2) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ   กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2562  จำนวน 38 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามรูปแบบแนวคิดของกาเย่  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง และการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามรูปแบบแนวคิดของกาเย่ รายวิชาวิทยาการคำนวณ โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19   บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.18/86.40 ซึ่งค่าประสิทธิภาพที่ได้สูงกว่าเกณฑ์ และเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามรูปแบบแนวคิดของกาเย่ ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
[2] นิกร หล้าน้อย. (2559). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามหลักการสอน 9 ขั้นตอนของกาเย่ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์. (วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์
[3] ศักดา สุจริต. (2558). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามกระบวนการเรียนรู้ของกาเย่ เรื่อง การออกแบบสารเพื่อการจำ รายวิชา
การออกแบบสาร สำหรับนิสิตระดับ ปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
[4] Gagne, R. M. (1970). The Condition of Learning. New York : Holt, Rinchart and Winston.
[5] หทัยรัตน์ ลิ้มกุล. (2554). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง ตามขั้นตอนการสอนของกาเย่เรื่องหลักการใช้ภาษา โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิ
ตาราม สังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
กรุงเทพฯ.
[6] Herzberg, F. (1959). The Motivation of Work. New York: John Wiley & Sons.
[7] อรรถโกวิท จิตจักร. (2559). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของกาเย่เสริมด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการ
ทำงานของคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎ
มหาสารคาม. มหาสารคาม.