การออกแบบและสร้างเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยควบคุมแบบปิด

Main Article Content

นิติพงษ์ สมไชยวงค์
จิรพงศ์ พิบูลศิลป์
ธีรภัทร์ อินแจ้
พงศ์สิริ ไชยคำ

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนาเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยควบคุมแบบปิด และ  2) ศึกษาผลการทดลองใช้ชุดควบคุมอุณหภูมิของเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยควบคุมแบบปิด ทำการทดสอบการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจาก ตะไคร้โดยทำการทดสอบการควบคุมอุณหภูมิหอกลั่นน้ำมัน ที่ 100°C และควบคุมอุณหภูมิถังควบแน่นไม่เกิน 30°C 


                 ผลการวิจัยพบว่า  1) ผลการพัฒนาเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยควบคุมแบบปิด พบว่าเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยควบคุมแบบชุดปิด ประกอบด้วยควบคุมอุณหภูมิ 2 ส่วน ได้แก่.ชุดควบคุมอุณหภูมิหอกลั่นน้ำมันหอมละเหย และชุดควบคุมอุณหภูมิถังควบแน่นโดยใช้ระบบควบคุมแบบป้อนกลับ (PID Control) และ  2) การศึกษาผลการทดลองใช้ชุดควบคุมอุณหภูมิของเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยควบคุม และชุดควบคุมอุณหภูมิถังควบแน่น ทำงานแบบปิด พบว่า ระบบควบคุมแบบป้อนกลับสามารถควบคุมอุณหภูมิในหอกลั่นน้ำมัน ที่ 100°C  ให้คงที่ตลอดระยะเวลาทำการทดสอบ และควบคุมอุณหภูมิในถังควบแน่นเฉลี่ยที่ 19.73°C  เมื่ออุณหภูมิในหอกลั่นน้ำมัน คงที่ที่ 100°C

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรภาครัฐ - เอกชน.(2560). แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข.
[2] นพดล ศุกระกาญจน์, กฤษณะ เรืองคล้าย และพันธสิทธิ์ โชคสวัสดิกร. (2563). ผลของการเสริมน้ำมันหอมระเหยในอาหารต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบเลือด ภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และความต้านทานโรคของปลานิล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 29(2), 203-215.
[3] บุญยำพร สระทองรอด และฤชุอร วรรณะนพดล. (2561). ศักยภาพผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยพืชสมุนไพรบางชนิดป้องกันกำจัดด้วงถั่วเขียว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(5), 601-611.
[4] สราวุฒิ สมนาม (2553). เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยต้นแบบประยุกต์จากเครื่องกลั่นสุราพื้นบ้าน. รายงานผลการวิจัยกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
[5] บุญธง วสุริย์ และธานิล ม่วงพูล. (2561). ระบบควบคุมการให้น้ำสำหรับแพะไล่ทุ่งแบบอัตโนมัติ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 155-162.
[6] บดินทร์ ใจจันทร์, เอกพันธ์ จำปา, เพลิน จันทร์สุยะ และจิรพัฒนพงษ์ เสนาบุตร. (2559). การพัฒนาเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยสมุนไพรโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับพลังงานไฟฟ้าที่มีระบบควบคุมไฟฟ้าอัตโนมัติ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 1(1), 16-24.
[7] ธีรศิลป์ ชมแก้ว (2551). การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากขิงด้วยวิธีการต้มกลั่นและกลั่นด้วยไอน้ำ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
[8] สุรศักดิ์ คะเนเร็ว (2557). การถ่ายเทความร้อนสารแขวนลอยท่อขด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[9] นฤเบศร์ หนูใสเพ็ชร, วิวัฒน์ คล่องพานชิ, และสิทธิชัย วงศ์หน่อ. (2560). การศึกษาชุดควบแน่นของเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยแบบท่อขด. ใน การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 18 และระดับนานาชาติครั้งที่ 10 (น.184-186), กรุงเทพฯ.
[10] วิศวะ มะมา และธนา ราษฎร์ภักดี. (2560). การพัฒนากฎการควบคุมพีไอดีสำหรับอุปกรณ์ขับเร้าแบบ เปิด/ปิด. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ, 3(1), 19-24.