การพัฒนาระบบคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และ 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล คลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ สาขาคลองศาลา จำนวน 8 คน อาสาสมัครสาธารณสุข ชุมชนเมืองเพชรบูรณ์ จำนวน 174 คน นักศึกษาอาสาสมัคร จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และผู้เข้ารับบริการคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ สาขาคลองศาลา 178 คน โดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โดยนำแนวคิดวงจรพัฒนาระบบ SDLC (System Development Life Cycle) มาใช้ในการวางแผนสำหรับการพัฒนาระบบ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 สำหรับประชาชนทั่วไป กลุ่มที่ 2 สำหรับกลุ่มบุคลากรสาธารณสุข และกลุ่มที่ 3 สำหรับประชาชนที่ขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน พบว่า กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีการประเมินประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.82, S.D. = 0.83)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ถาวร มาต้น. (2559). การป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง. พิษณุโลก : ตระกูลไทย.
พบแพทย์. (2563). โรคเบาหวาน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.pobpad.com/โรคเบาหวาน.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560-2579). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ลาภลอย วานิชอังกูร. (2552). เรียนรู้ด้วยตนเอง Database/Query/T-SQL/Stored Procedure. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศุภชัย สมพานิช. (2560). คู่มือสร้างเว็บไซต์แบบ Responsive ด้วย ASO.NET & .NET Core MVC ฉบับโปรแกรมเมอร์. นนทบุรี: ไอดีซีฯ.
นรเทพ อัศวพัชระ. (2562). การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการ โรงพยาบาลระนอง จังหวัดระนอง . วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 9(3), 263-279.
อรวรรณ สัมภวมานะ และคณะ. (2560). การพัฒนาการจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล : กรณีศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลมะลวน อ.พุนพิน จ.สุราษฏร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 27(1), 157-167.
รุ่งนภา อาระหัง สุธีรา ฮุ่นตระกูล และศศิธร รุจนเวช. (2561). วารสารแพทย์นาวี. 45(3), 509-526.
Likert, Rensis. (1961). New Pattern of Management. New York : McGraw – Hill.
Best, J.W. (1977). Research in Education. 3rd . New Jersey : Prentice Hall Inc.