การพัฒนาแอปพลิเคชันช่วยตัดสินใจในการเลือกเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยใช้เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ

Main Article Content

กนิษฐา อินธิชิต
ภควัฒน์ ปิยวงษ์
สุภาพร สุขใส

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันช่วยตัดสินใจในการเลือกเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยใช้เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ 2) ประเมินประความเหมาะสมของแอปพลิเคชันช่วยตัดสินใจในการเลือกเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยผู้เชี่ยวชาญ 3) ประเมินความพึงพอใจของแอปพลิเคชันช่วยตัดสินใจในการเลือกเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยผู้ใช้งานทั่วไป


            ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ผู้ใช้ตอบแบบทดสอบแล้วเก็บมาเป็นคะแนน และนำคะแนนไปเปรียบเทียบสาขาวิชาที่เหมาะสมกับผู้ใช้และแสดงผลในรูปแบบข้อความ เรียงลำดับสาขาวิชาตามคะแนนที่ได้สูงสุด 3 อันดับแรก 2) ผลการประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าแอปพลิเคชันมี ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49) และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจ โดยผู้ใช้งานทั่วไป พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจแอปพลิเคชันช่วยตัดสินใจในการเลือกเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิพรรธน์ พิเชฐศิรประภา และ ชุติมา นุตยะสกุล .(2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อความยั่งยืนของชุมชน ตำบลบางสมัคร อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์: ฉะเชิงเทรา.

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. (2562). ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

ศจี วานิช (2558) ศจี วานิช. (2558). การทำเหมืองข้อมูล. สืบค้นจากhttp://sajeegm301.blogspot.com/2015/11/data-mining.html

กฤษณะ ไวยมัยและคณะ. (2544). การใช้เทคนิคดาต้าไมน์นิ่งเพื่อพัมนาคุณภาพการศึกษานิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์, The Nectec Thailand Jurnal. 3(1), น.134-142.

จิราภา เลาหะวรนันท์ รชต ลิ้มสุทธิวันภูมิ และบัณฑิต ฐานะโสภณ. (2558). การใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูลในการจำแนกและคัดเลือก แขนงวิชาสำหรับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. (งานวิจัย). คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง: กรุงเทพฯ.

พร้อมเลิศ หล่อวิจิตร. (2558). Android Studio. สํานักพิมพ์ โปรวิชัน: กรุงเทพฯ.

ปรีชา ลิ้มตระกูล. (2559). การพัฒนาตัวแบบการพยากรณ์ผลผลิตมันสำปะหลังด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล. (งานวิจัย). สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากร: กรุงเทพฯ.

สวียา สุรมณี และ รุ้งนภาพร ภูชาดา. (2558). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนแท็บเล็ตมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์: กาฬสินธุ์.

กนิษฐา อินธิชิต สลิลทิพย์ บำรุงกิจ และพรณิภา เทียนแก้ว. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันแจ้งเตือนการดูแลผู้ป่วยติดเตียงบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. โครงงานทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ: ศรีสะเกษ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์พริ้นทร์.