การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในด้วยดิจิทัลคอนเทนต์

Main Article Content

บัณฑิต ปานโศก
ชนกฤต มิตรสงเคราะห์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในด้วยดิจิทัลคอนเทนต์ 2) ประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการใช้งานระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในด้วยดิจิทัลคอนเทนต์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และกลุ่มผู้ใช้งานบุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุนที่เคยปฏิบัติหน้าที่ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สำหรับการพัฒนาระบบ ใช้ภาษา HTML, PHP และ java script โดยใช้ฐานข้อมูล MySQL การประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ ใช้วิธีการทดสอบซอฟต์แวร์แบบ Back Box Testing และเครื่องมือที่ใช้ที่เป็นแบบสอบถามตามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ นำระดับคะแนนทั้งหมดมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


        ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในด้วยดิจิทัลคอนเทนต์ พบว่าระบบสารสนเทศมีความถูกต้องสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยได้ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ให้ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.30 พบว่าระบบมีประสิทธิภาพอยู่ระดับมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานระบบ ทั้ง 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งคือผู้บริหารของมหาวิทยาลัย จำนวน 13 คน ได้ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33 ความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด กลุ่มที่สองคือกลุ่มผู้ใช้งานเป็น บุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุนที่เคยปฏิบัติหน้าที่ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ มหาวิทยาลัย จำนวน 17 คน ได้ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.34 ความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข

เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

กฎกระทรวง ว่าด้วย การประกันคุณภาพ พ.ศ. 2561. (2561, 23 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอน 11 ก. หน้า 3-5.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561. (2561, 17 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 199 ก. หน้า 19-21.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). นิยามของดิจิตอลคอนเทนต์.

จาก http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/c.dicchithalkhnethnt_rev4.pdf

ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข. (2565). การใช้ดิจิทัลคอนเทนต์ในการจัดการเรียนรู้ ดิจิตอล คอนเทนต์ (DIGITAL CONTENT) คืออะไร มีอะไรบ้าง. จาก http://www.anantasook.com/digital-content-in-education/?fbclid=IwAR1z

_jHNF9j8DWe5XUrBZLT4CkB7FPnT1Az5JChubZck9ueZGbcInlHppsY

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. (2564). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี พ.ศ. 2562 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564). กาญจนบุรี: งานมาตรฐานและประกันคุณภาพ การศึกษา.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2547). วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ถกล นิรันดร์วิโรจน์. (2526). ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทบวงมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐาน

อุดมศึกษา.

นเรศร์ บุญเลิศ. (2556). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC). พะเยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ

ราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา.

อาทร กิตินุกูล. (2565). กว่าจะได้ Software ต้องผ่านอะไรมาบ้าง. จาก https://medium.com/i-gear-geek/กว่าจะได้-

software-ต้องผ่านอะไรมาบ้าง-83cc38b40b64

ธนภัทร เจิมขวัญ. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานประกันคุณภาพการศึกษากรณีศึกษา สถาบันวิจัยและ พัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. หน้า 808-818.

ศรีวิไล นิราราช, วรปภา อารีราฏร์ และบดินทร์ แก้วบ้านดอน. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ การศึกษา

ระดับหลักสูตร. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาสารคาม, 3(1), หน้า 26-34.

สุวนิตย์ รุ่งราตรี. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา(ระดับหลักสูตร) ตามเกณฑ์การประกัน

คุณภาพการศึกษาภายใน ปี พ.ศ. 2557 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. จาก

https://www.aru.ac.th/myadmin/uploads/rdi/download/20201130-3eb47c41.pdf

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ จำกัด.