การพัฒนาแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน

Main Article Content

พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม
สุธิรา จันทร์ปุ่ม
สุรเชษฐ์ เหลื่อมเภา
วินิจ สุขวงศ์

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน 2) ประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และนักศึกษาผู้บกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 20 คน  เครื่องมือการวิจัย คือ แอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน แบบประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของมาร์กเกอร์ สำหรับสแกน เพื่อแสดงข้อมูลระบบสุริยะจักรวาล โมเดล 3 มิติ เสียงบรรยาย และวิดีโอภาษามือ และส่วนของแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมที่ทำงานบนสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์  2) ผลการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย อยู่ในระดับมาก


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกยูร วงศ์ก้อม.(2563). การพัฒนาชุดส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสาร เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระยะแรกเริ่ม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ญาตาวี ทิพย์เที่ยงแท้. (2565). อิทธิพลของเทคโนโลยีความจริงเสริมที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้ากลุ่มเครื่องสำอางผ่านทัศนคติต่อเทคโนโลยี. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดุสิต ขาวเหลือง, และอภิชาติ อนุกูลเวช. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยี

ความเป็นจริงเสริม Augmented Reality (AR) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัครเทพ อัคคีเดช. (2563). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเรื่อง เครื่องดนตรีสากล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กัญญารัตน์ ทองชุม. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันคันจิด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality โดยกระบวนการเรียนรู้เชื่อมโยงภาพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

สุทธิกานต์ บ่อจักรพันธ์, อรทัย จิตรักษ์, และนภัสกรณ์ นามดี. (2562). แอปพลิเคชันเทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อการสอน เรื่อง เรขาคณิต สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 (472-479). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วรรณศิลป์ ภู่เด่นใส และสุนันทา ศรีม่วง.(2560). การพัฒนาแอพพลิเคชันเสมือนจริง เรื่องระบบสุริยะ ด้วยเทคโนโลยีอัคเมนต์

เตดเรียลริตี้. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 3(1), 63-69.

วรรณิสา เสวกวิหารี และสุขสถิต มีสถิตย์. (2562). แอปพลิเคชันเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในจังหวัดสกลนคร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 (2450-2456). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ณัฐกานต์ ภาคพรต และหทัยรัตน์ ศรีสวัสดิ์. การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อพัฒนาการเรียนรู้.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 9(3), 15-23.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพครั้งที่ 10). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.