การพัฒนาระบบสารสนเทศคลังข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพด้านการศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน กรณีศึกษา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

จารุกิตติ์ สายสิงห์

บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศคลังข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพด้านการศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน กรณีศึกษา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศคลังข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพด้านการศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน กรณีศึกษา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ 3) ศึกษาความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศคลังข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพด้านการศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน กรณีศึกษา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ ที่ใช้ในการศึกษาความพึงพอใจการใช้งานระบบ รวมจำนวน 150 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพระบบ จำนวน 3 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศคลังข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพด้านการศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน แบบสอบถามความพึงพอใจและแบบสอบถามการยอมรับของผู้ใช้งานระบบสารสนเทศคลังข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพด้านการศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                     ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบและการพัฒนาระบบสารสนเทศคลังข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพด้านการศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชันสามารถใช้งานได้จริง โดยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศคลังข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย 5 ระบบหลัก ได้แก่ (1) ระบบยืนยันตัวตนผู้เข้าใช้งาน (2) ระบบคลังข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพครู
(3) ระบบคลังข้อสอบวัดแววความเป็นครู (4) ระบบแสดงผลการทดสอบ และ (5) ระบบแสดงประวัติการเข้าทดสอบ นักศึกษาและศิษย์เก่าบุคลากรภายในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถเข้าถึงนำข้อมูลได้ตามขอบเขตสิทธิ์การใช้งานตามที่ระบบได้กำหนดไว้ และตรงตามความต้องการของผู้ใช้ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศคลังข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพด้านการศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชันจากผู้เชี่ยวชาญมีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 4.80, SD. = 0.33) และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบสารสนเทศคลังข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพด้านการศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชันจากกลุ่มเป้าหมาย มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 4.76, SD. = 0.13) และ 4) ผลการศึกษาการยอมรับของผู้ใช้งานระบบที่มีต่อระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}= 4.68 , SD. = 0.02)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563-2570. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2566, จาก https://backend.tsri.or.th/files/trf/2/docs/Policy_and_Strategy_of_Thailand_HESI_2563-2570_and_Thailand_SRI_Plan_2563-2565.pdf

มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักแผนและพัฒนา. (2565). ความเป็นเลิศแผนการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศของมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2567 – 2571. ขอนแก่น: สำนักแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

อัชณา วุฒิพรพงษ์. (2557). การพัฒนาระบบคลังข้อสอบสำหรับการตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์. (การค้นคว้าอิสระปริญญารมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

นพพร ศิริกุล. (2554). การพัฒนาระบบจำแนกความสามารถผู้เรียนโดยใช้คลังข้อสอบ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เอ็ม.ดี.ซอฟต์ จำกัด.(2562). ทำความรู้จักกับ Web Application (เว็บแอพพลิเคชั่น). สืบค้น 10 กรกฎาคม 2566 จาก https://mdsoft.co.th/ความรู้/359-web-application.html

วิกิพีเดีย. (2562). จาวาสคริปต์. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2566, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/จาวาสคริปต์

บัญชา ปะสีละเตสัง. (2553). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วย PHP ร่วมกับ MySQL และ Dreamweaver. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เอโอซอฟต์. (2562). PhPMyAdmin คืออะไร. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.aosoft.co.th/article/310/phpMyAdmin-คืออะไรA3.html

Stair, R.M. (1996). Principle of Information Systems. Kentucky: Lexington.

กิตติภักดี วัฒนะกุล, และจาลอง ครูอุตสาหะ. (2544). วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database Life Cycle : DBLC). กรุงเทพฯ: เคทีพีคอมพ์ แอนด์คอนซัลท์.

ชาลี และเทพฤทธิ์. (2544) วิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุโดยใช้ยูเอ็มแอล (Unified Modeling Language : UML).กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ศุภชัย ชัยประเสริฐ, เพ็ญศรี อมรศิลปชัย และปฐมาภรณ์ เถาว์พัน. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานกิจกรรมนักศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน กรณีศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตแห่งชาติ ครั้งที่ 47. (น. 1155-1166). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ฉัตรนภา พรหมมา. (2549). รูปแบบเครือข่ายการบริหารจัดการงานวิจัยแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์และองค์

ท้องถิ่น. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

จารุกิตติ์ สายสิงห์. (2565). การประเมินประสิทธิภาพระบบจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรทางการศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย

มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(1), 1-15.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จารุกิตติ์ สายสิงห์. (2563). ระบบจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากรทางการศึกษาแบบ 360 องศา. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี

สารสนเทศและนวัตกรรม, 7(2), 59-71.

นิตยปภา จันทะปัสสา. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานบุคคลโรงเรียนบ้านดอนตูมดอนโด สำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(1), 82-89.

ดาวรถา วีระพันธ์. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชัน. วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 145-154.

องค์อร สงวนญาติ และคณะ. (2560). การประเมินโครงการเพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการการเรียนรู้ระหว่างห้องเรียนพิเศษ

โปรแกรมนานาชาติ (IP) กับหลักสูตรการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามโครงการ Education Hub กระทรวงศึกษาธิการในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.