การพัฒนาป้ายสินค้าดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี AR ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาป้ายสินค้าดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี AR ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 2) ศึกษาคุณภาพของป้ายสินค้าดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี AR ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้ป้ายสินค้าดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี AR ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชุมบ้านโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน กลุ่มลูกค้าทั่วไปจำนวน 10 คน คัดเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ป้ายสินค้าดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี AR ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 2) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อป้ายสินค้าดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี AR และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อป้ายสินค้าดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี AR ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาป้ายสินค้าดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี AR ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ป้ายสินค้าดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี AR ของผลิตภัณฑ์สินค้าพริกทอดกรอบ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ส่วนของภาพป้ายสินค้า Marker และส่วนแสดงผลข้อมูลของป้ายสินค้า 2) คุณภาพของป้ายสินค้าดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี AR จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, SD.=0.51) และ 3) ผลการทดลองใช้ป้ายสินค้าดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี AR ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการใช้งานป้ายสินค้าดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี AR อยู่ในระดับมาก ( = 4.67, SD.=0.38) และผลการใช้งานหลังผ่านไป 1 เดือน พบว่า รายได้ต่อเดือนของทุกคนรวมกันก่อนเริมประชาสัมพันธ์ มีรายได้ 3000 บาท/เดือน และหลังจากเริ่มประชาสัมพันธ์โดยใช้ป้ายสินค้าดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี AR แล้วทำให้มีรายได้ทุกคนรวมกันเพิ่มขึ้น 10,000 บาท/เดือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 30
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จรัสดาว เรโนลด์, ศิริพรรณ ปิติมานะอารี และ สุมิตรา ชูแก้ว. (2563). การส่งเสริมการดูแลตนเองโดยใช้สื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง Augmented reality (AR) กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตากสิน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์. (2564). โรงพยาบาลเสมือนจริงแห่งประเทศไทยเพื่อการแก้ปัญหาสาธารณสุขไทยเชิงระบบ. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 63(1), 75-87.
อเนก พุทธิเดช และคณะ. (2561). การพัฒนาบทเรียนเรื่องการประยุกต์ปริพันธ์จำกัดเขต โดยประยุกต์ใช้เทคนิคความจริงเสริมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
มิตรภาพ พงษานิตร และคณะ. (2562). การพัฒนาเกมสามมิติโดยการจำลองสถานที่จริง กรณีศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 (1262-1276). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ปิยศักดิ์ ถีอาสนา. (2561). การพัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์อัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเพิ่มรายได้ โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง.
วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(2), 1-6.
เผด็จ สวิพันธุ์. (2561). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือนและเทคโนโลยีบ่งชี้วัตถุอัตโนมัติ กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์มหาราชานุสรณ์ ร. 4 วัดราชาธิวาสวิหาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ภานุวัฒน์ กาหลิบและคณะ. (2565). การสร้างสรรคืเทคโนโลยีเสมือนจริง จากการออกแบบภาพสัญลักษณ์และระบบป้ายภายในวัดเทพธิดารามวรวิหาร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
มานะ โสภา, วรจักษ์ แสนโคตร, และวัฒนา อิศาสตร์. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันนำเที่ยวบนสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(2), 61-69.
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2565). โครงการส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมของชุมชนตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ธนาพจน์ ฐากูรบุตร. (2563). คู่มือการสร้าง AR. (ออนไลน์). สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://anyflip.com/
hrnxb/ktsv/basic
บริษัท เบลสสกาย คอนเนคชั่น จำกัด. (2564). AR, VR, MR และ Immersive Technology. สืบค้น 20 กันยายน 2566, จาก https://www.blesssky.com/ar-vr-mr-และ-immersive-technology-คืออะไร
จิราภรณ์ ปกรณ์. (2561). AR (Augmented Reality) เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง. สืบค้น 1 กันยายน 2566, จาก https://www.scimath.org/article-technology/item/7755-ar-augmented-reality
ครู ตะวัน. (2566). เทคโนโลยีโลกเสมือน (AR) เพื่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ. สืบค้น 20 กันยายน 2566, จาก https://inskru.com/idea/-NZ8w6JIshAkAdIjBBF4
จริยา รสหอม, วรปภา อารีราษฎร์, และกาญจนา ดงสงคราม, (2565). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน, วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 8(1), 65-77.
สาลินี ทิพย์เพ็ง และคณะ, (2565). การวิจัยและพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยววิถีโหนด นา เล พื้นที่ลุ่มน้้าทะเลสาบสงขลา ด้วยเทคโนโลยี AR สู่การยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (รายงานการวิจัย). สงขลา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์, ธเนศ ยืนสุข, และทิพวิมล ชมภูคำ, (2564). การพัฒนาสื่อดิจิทัลสำหรับให้ความรู้มารดาหลังคลอดในโรงพยาบาล. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(1), 64-73.
Best, John. W. (1997). Research in Education (3nd ed.). Prentice-Hell.
จิรนัยน์ ยอดดี, (2563). การพัฒนาแบบจำลองการออกแบบเครื่องแต่งกายจากผลิตภัณฑ์ผ้าไหมด้วยเทคโนโลยี
Augmented reality อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.