การพัฒนาแอปพลิเคชันเชื่อมโยงอาหารไทยกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และวัฒนธรรมเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุรสิทธิ์ ศักดา
วลัยรัชช์ นุ่นสงค์
อรยา สุขนิตย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันเชื่อมโยงอาหารไทยกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรม อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) ทดสอบผลการทำงานของแอปพลิเคชันเชื่อมโยงอาหารไทยกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรม อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชันเชื่อมโยงอาหารไทยกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรม อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักท่องเที่ยวที่ท่องเที่ยวใน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แอปพลิเคชันเชื่อมโยงอาหารไทยกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรม อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


         ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแอปพลิเคชันเชื่อมโยงอาหารไทยกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและวัฒนธรรม อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าส่วนการทำงานประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนผู้ดูแลระบบ ส่วนนักวิจารณ์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว และส่วนนักท่องเที่ยวใช้งาน 2) ผลทดสอบผลการทำงานของแอปพลิเคชัน พบว่า มีผลการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.81, SD. = 0.21) ประกอบด้วยการทดสอบฟังก์ชันการทำงาน การทดสอบการเชื่อมต่อกับบริการอื่น ๆ การคลิกทดสอบโปรแกรมไปเรื่อย ๆ ตามการทำงานของระบบ และการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบ โดยสามารถทำงานได้ถูกต้องและรวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งานของแอปพลิเคชันใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน มีความเป็นมาตรฐานเดียวกันในแต่ละหน้าจอ สามารถค้นหาและแสดงข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามหมวดหมู่และเงื่อนไข มีการจำแนกสิทธิ์ของการใช้งานในกรณีเข้าใช้งานปกติและการเข้าใช้งานโดยมีการพิสูจน์ตัวตนในการเข้าสู่แอปพลิเคชัน เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้แอปพลิเคชันได้ และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชัน พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.65, SD. = 0.34) ประกอบด้วยการใช้ขนาดตัวอักษรมีความเหมาะสม การใช้สีพื้น และสีตัวอักษะ ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันของการออกแบบแต่ละหน้าจอ มีการใช้ข้อความและภาพในการสื่อความหมาย การแสดงผลการโต้ตอบต่อผู้ใช้มีความเหมาะสมและใช้ข้อความ คำศัพท์ที่ใช้เข้าใจง่าย คุ้นเคย และง่ายต่อการจดจำ

Article Details

How to Cite
ศักดา ส. ., นุ่นสงค์ ว. ., & สุขนิตย์ อ. . (2024). การพัฒนาแอปพลิเคชันเชื่อมโยงอาหารไทยกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และวัฒนธรรมเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 11(1), 132–143. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/252807
บท
บทความวิจัย

References

Ministry of tourism and sports. The second national tourism development plan (2017-2021). [Online]. Available: https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=312 (in Thai)

J. Chonglomkrot, Thungsong 100 years, Nakhon Si Thammarat: Wutthisan printing house, 2003. (in Thai)

National innovation agency (Public Organization). Mobile Application. (2017, Jan 16). [Online]. Available: https:// www.admissionpremium.com/it/news/1852 (in Thai)

Ministry of tourism and sports. The second national tourism development plan (2012-2017). [Online]. Available: https://www.mots.go.th (in Thai)

S. Dickman, Tourism: An Introductory Text. Holder Education, Rydalmere, New South Wales, (1997).

O. Iamsiriwong, Computer graphics programs processing. Bangkok : SE-EDUCATION, 2015. (in Thai)

S. Arch-int and N. Arch-int, Database system. Khon kaen: UKKUshop Khon kaen university, 2001. (in Thai)

W. Sunthornsamai and P. Thammachart. “Community-based healthy tourism patterns for Sustainable development of community-based enterprise networking in Prajinburi province,” The association of researchers of Thailand, vol. 3, no. 21, pp. 167-181, 2016. (in Thai)

C. Chantraponchai et al. (2558). “Health tourism management : Case study in Hua Hin with ontology and parallel and cloud computing,” Research report, Kasetsart University, 2015. (in Thai)

Ministry of tourism and sports. (n.d.) Domestic tourism statistics (Classify by region and province 2020). [Online]. Available: https://www.mots.go.th (in Thai)

P. Sutheewasinnon and P. Pasunon, “Sampling strategies for qualitative research,” Parichart journal, Thaksin university, vol. 29, no. 2, pp. 31-48, 2016. (in Thai)

B. Prommapun, “Techniques for computer interpretation for mean comparison in research,” Social science journal of Prachachuen research network, vol. 1, no. 1, pp. 37-52, 2019. (in Thai)

N. Nuchprayoon and J. Punrawan. “Development of mobile application to management travel trip buddhist tourism with participation of tourists in Mueang Nonthaburi District, Nonthaburi Province,” Research report, Rajamangala university of technology suvarnabhumi, (2022). [Online]. Available: https://research.rmutsb.ac.th (in Thai)

P. Nilsook, “Evaluating the quality of information websites,” RSU library journal, vol. 9, no. 1, pp. 19-27, 2003. (in Thai)

A. Wannakayont, “Development of information systems based on the system development lifecycle concept (SDLC) for trade of farmers who produce organic jasmine rice in Surin Province,” Ph.D. dissertation, Philosophy program in industrial technology, Graduate school, Surindra rajabhat university, 2015. (in Thai)

Faculty of information science, Information technology in daily life, Teaching documents 885101 Information technology in daily life, Faculty of information sciences, Burapha university, 2010. (in Thai)