การทดสอบเครื่องสับอเนกประสงค์เพื่อการเกษตร

Main Article Content

อัศวิน สืบนุการณ์ ภูเมศร์ นิยมมาก วัชรากรณ์ จันโสม นันทพัทธ ปัดภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพเครื่องสับอเนกประสงค์ จากการทดสอบโดยป้อนพืชทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ หญ้าเนเปียร์ ใบไม้สด และใบไม้แห้ง ที่จำนวน 10  kg เท่ากัน ทดสอบด้วยเครื่องสับอเนกประสงค์และเปรียบเทียบกับการสับด้วยมือ แบบ 1 คนสับ ซึ่งภายหลังจากการสับได้นำมาชั่งอีกครั้ง พืชทั้ง 3 ชนิดมีน้ำหนักลดลง โดยหญ้าเนเปียร์มีน้ำหนักเฉลี่ยเพียง 2.46 kg ใบไม้แห้งมีน้ำหนักเฉลี่ย 5.53 kg และใบไม้สด มีน้ำหนักเฉลี่ย 3.30 kg เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบจากเวลาในการผลิตพบว่าการสับด้วยเครื่องสับอเนกประสงค์ใช้เวลาน้อยกว่าการสับด้วยมือแบบ 1 คนสับ โดยการสับหญ้าเนเปียร์ด้วยเครื่องสับอเนกประสงค์ลดเวลาจากการสับด้วยมือแบบ 1 คนสับได้ถึง 66.22 % การสับใบไม้สดด้วยเครื่องสับอเนกประสงค์ลดเวลาจากการสับด้วยมือแบบ 1 คนสับได้ถึง 66.67 % การสับใบไม้แห้งด้วยเครื่องสับอเนกประสงค์ลดเวลาจากการสับด้วยมือแบบ 1 คนสับได้ถึง 65.66 % นั่นคือสามารถลดเวลาในการทำงานลงได้ 2 ใน 3 ของเวลาทำงานปกติ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กำพล ประทีปชัยกูร และคณะ. (2557). เครื่องแยกใบปาล์มน้ำามัน และเครื่องสับย่อยใบปาล์มน้ำมันเพื่อใช้เป็น

อาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง. คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

คำรณ ชัยบุรินทร์และคณะ. (2556). เครื่องหั่นผักตบชวา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

โชคอนันต์ พันหลวง. และคณะ. (2554). เครื่องย่อยใบไม้กิ่งไม้. คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐพงษ์ กลั่นหวาน และคณะ. (2561).การสร้างเครื่องสับย่อยผักตบชวาแบบมีส่วนร่วม ตำบลทับหมัน

อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วิทยาลัยชุมชนพิจิตร.

ธีระพงษ์ กระการดี. (2558). ค่าเฉลี่ยเลขคณิต. [ออนไลน์] .เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com

/site/peenam47/sthiti. สืบค้น 25 สิงหาคม 2563.

ศุภชัย แก้ววงษ์ และคณะ .(2544) .เครื่องสับพืช. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร .

นรชัย สหวิศิษฏ์ และคณะ . (2554). สภาพการผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและความอยู่ดีมีสุขของเกษตรกร

ที่เลี้ยงโคขุน ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์.