สื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ และ 3) เพื่อวัดการรับรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ วิธีดำเนินงานวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน สังกัดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 35 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ แบบสอบถามความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ และ แบบวัดการรับรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ การประเมินคุณภาพสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการวัดการรับรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
ดวงกมล เจียมเงิน. (2555). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะด้านโภชนาการตามหลักโภชนบัญญัติและธงโภชนาการของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา ภาควิชาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทักษิณา สุขพัทธี และทรงศรี สรณสถาพร. (2560). “การศึกษาแนวทางการออกแบบโมชั่นกราฟิกที่ส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้.” วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12 (1), 261 - 268.
ธน โพธิ์ปฐม. (2553). สื่อภาพยนตร์โฆษณาโมชั่นกราฟิครณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มวัยรุ่นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอช ไอ วี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต คณะดิจิทัลอาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต.
ธวัชชัย สหพงษ์ และศิริลักษณ์ จันทพาหะ (2561). “การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง คอนแทคเลนส์.” วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(1), 9 - 15.
ธัญชนก สุจริตรัฐ วลัยภรณ์ นาคพันธุ์ และชัยพร พานิชรุทติวงศ์. (2557). “พฤติกรรมการสื่อสารของคนไทยที่ไม่เหมาะสมในสังคมออนไลน์ (กรณีศึกษา Youtube.com).” รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2557, มหาวิทยาลัยรังสิต. กรุงเทพฯ.
เบญจวรรณ จุปะมะตัง และธวัชชัย สหพงษ์ (2560). “การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง ตำนานพระธาตุขามแก่น.” วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 3(2), 1 - 6.
พงษ์พิพัฒน์ สายทอง (2560). “การพัฒนาโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อประชาสัมพันธ์หลกัสูตรระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.” วารสารวิชาการVeridian E –Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10 (2), 1330 - 1341.
วรรณทิภา ธรรมโชติ (2562). “การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชา ส22101 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.” วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(2), 37 - 47.
เวชยันต์ ปั่นธรรม (2562). “การผลิตสื่อโมชันกราฟิกเรื่องระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 ชาแนล.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลยัการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 96 - 101.
สมโชค เนียนไธสง และคณะ (2561). “การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อป้องกันการเกิดภาวะโรคอ้วนในเด็ก ช่วงอายุ 6 - 12 ปี กรณศึกษา โรงเรียนวัดดอนเสลา (ปาน พูน รัฐราษฎร์บำรุง).” วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 5(1), 187 - 201.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422. สืบค้น 2 กันยายน 2562.
อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์. (2555). “การสื่อสารเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ.” วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, (1), 1 - 19.
Linkert, R. (1932). “A Technique for the Measurement of Attitudes.” Archives of Psychology, 140, 1 - 55.